Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2022

Document Type

Independent Study

First Advisor

ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข

Second Advisor

ยาริกา เรืองศิริ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2022.464

Abstract

วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน (Mutual Agreement Procedure: MAP) เป็นหนึ่งในปฏิบัติการต่อต้านและป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไร (Anti Based-Erosion and Profit Shifting: BEPS) ซึ่ง Model Tax Convention ได้วางหลักให้ผู้เสียภาษีสามารถติดต่อไปยังหน่วยงานผู้มีอำนาจของรัฐคู่สัญญาได้ในกรณีที่เห็นว่าตนถูกจัดเก็บภาษีไม่เป็นไปตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงมาตรการภายในของรัฐคู่สัญญา ภายใน 3 ปี นับแต่ได้รับการแจ้งเตือนครั้งแรกที่มีผลทำให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นไปตามอนุสัญญาภาษีซ้อน โดยที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (Competent Authority) ของรัฐคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ในการเจรจาและหารือกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่ไม่เป็นไปตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ภายหลังจากลงนามเป็นภาคี ประเทศไทยได้อนุวัติการกฎระเบียบภายในเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของ OECD แต่อย่างไรก็ดี จากรายงานทบทวนของ OECD พบว่า มาตรการ MAP ของไทยยังคงยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้เสียภาษี ทั้งขั้นตอนการพิจารณาคำขอจัดทำ MAP ขั้นตอนจัดทำข้อตกลง MAP หรือจนถึงภายหลังการจัดทำ MAP ไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิทธิของผู้เสียภาษีในการเข้าถึง MAP โดยไม่ต้องคำนึงมาตรการภายใน มาตรการในการจัดทำ MAP บนหลักสุจริตและภายในเวลาเหมาะสม มาตรการในการบังคับใช้ข้อตกลง MAP รวมถึงแนวทางการพิจารณาข้อพิพาทกรณีที่มีการจัดทำ MAP ควบคู่ไปกับดำเนินการตามมาตรการภายใน เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงศึกษาแนวคิดของการนำ MAP มาใช้ในการระงับข้อพิพาททางภาษีระหว่างประเทศของประเทศไทยเปรียบเทียบกับแนวทางของต่างประเทศและหลักการที่ OECD กำหนดเอาไว้ ซึ่งพบประเด็นที่ผู้เขียนเห็นว่าเพื่อให้มาตรการของไทยมีความสอดคล้องกับหลักการที่ OECD และ Multilateral Instrument (MLI) ที่ไทยได้ลงนามข้อตกลง ประเทศไทยควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตาม MAP เพื่อให้สามารถจัดทำ MAP บนหลักสุจริตและภายในระยะเวลาเหมาะสม รับรองสิทธิในการเข้าถึงการจัดทำ MAP แนวทางในการบังคับข้อตกลง MAP และมาตรการในการติดตามการบังคับใช้ข้อตกลง MAP ในประเทศ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Mutual Agreement Procedure (MAP) is one of minimum standard of an OECD’s anti Based-Erosion and Profit Shifting actions. According to the OECD Model Tax Convention, taxpayers who consider that the actions of one or both Contracting States result in taxation not in accordance with the provisions of the Convention may present their case to the competent authority of either Contracting State. As part of the BEPS initiative, Thailand has incorporated MAP into its domestic regulations in line with the OECD model and guidelines. However, the peer review by the OECD has revealed that the MAP measures in Thailand still have limitations for taxpayers, thereby necessitating an in-depth analysis of the MAP guidelines and procedures in Thailand. This study explores the application of the Mutual Agreement Procedure (MAP) in international tax dispute resolution in Thailand, comparing it to foreign approaches and the principles established by the OECD. Thailand aligns with the OECD principles and has signed the Multilateral Instrument (MLI). However, there is a need for further development and improvement in the implementation of MAP in Thailand. This includes ensuring MAP is conducted in good faith and within a reasonable timeframe, providing access to MAP, establishing guidelines for enforcing MAP agreements, and implementing measures to monitor their enforcement within the country.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.