Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
Second Advisor
สนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.462
Abstract
ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 กำหนดให้ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ประกอบกิจการของนิติบุคคลถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางค้าหากำไรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2 (6) จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งหากพิจารณาจากแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ดังที่ปรากฎในหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรจะเห็นว่าทุกกรณีที่นิติบุคคลกระทำการอันเป็นการ “ขาย" อสังหาริมทรัพย์ในทุกกรณี โดยไม่คำนึงว่านิติบุคคลผู้ขายมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งขึ้นเพื่ออะไรหรือจะได้กระทำการอันเป็นการขายโดยสมัครใจหรือไม่หรือได้กระทำมีค่าตอบแทนหรือไม่ ล้วนอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในทุกกรณีเนื่องมาจากเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ประกอบกิจการของนิติบุคคล อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางค้าหรือหากำไรในทุกกรณี แต่อย่างไรก็ดีหากพิจารณาจากแนวทางตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาจะพบว่า กรณีที่นิติบุคคลกระทำการอันมีลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยบังคับของกฎหมาย ถ้านิติบุคคลดังกล่าวไม่ได้ประกอบธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้า การขายดังกล่าวไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางค้าหรือหากำไร อันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด นำมาสู่ประเด็นที่ต้องพิจารณาว่ากรณีบังคับขายที่ดินของนิติบุคคลต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดินโดยวิธีการบังคับจำหน่ายโดยอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะในกรณีดังกล่าวเนื่องจากเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่นิติบุคคลมีไว้ประกอบกิจการอันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางค้าหรือหากำไร เมื่อกรณีดังกล่าวไม่เป็นการขายด้วยความสมัครใจเนื่องจากเป็นการบังคับขายที่ดินโดยผลของประมวลกฎหมายที่ดินจึงไม่ควรเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางค้าหรือหากำไรอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นเดียวกันกับกรณีตามที่ปรากฎในแนวทางตามคำพิพากษาของศาลฎีกา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
According to section 4 of the Royal Decree issued under the Revenue Code Regarding Sale of an Immovable Property for a Commercial or Profitable Purpose (No. 342) B.E. 2541, it is defining that the sale of immovable properties possessed by Juristic Person is the sale of immovable property for commercial or profitable purpose. The Ruling of Revenue Department indicates that in every case, where a juristic person acts as the “sale" of immovable property, is subjected to Specific Business Tax regardless of the purpose of the seller’s embellishment, whether it is a voluntary sale, or whether such sale of immovable property has done it for a consideration or not. Referring to the guideline provided in the Supreme Court’s order, it can be concluded that if a juristic person engages in the sale of immovable property under the compulsion of law and does not operate a business of selling real estate for commercial purposes, such a sale will not be considered a sale of immovable property for commercial or profitable purposes and will not be subject to Specific Business Tax under Revenue Code. Consequently, the sale of immovable property through the enforcement of land sale possessed by a foreign juristic person under the Land Code should not be subject to Specific Business Tax, as it is not carried out voluntarily by the foreign juristic person.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนปนัดดา, ธีธัช, "ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะในการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ประกอบกิจการของนิติบุคคล:กรณีถูกบังคับให้มีการจำหน่ายที่ดินที่มีไว้เพื่อประกอบกิจการของนิติบุคคลต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13185.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13185