Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.456
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาหลักเกณฑ์ของการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางภาษีของทรัพย์สินประเภทรถยนต์ประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมาย โดยมีสมมติฐานของการศึกษาวิจัยว่าปัจจุบันข้อจำกัดในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนทรัพย์สินของกิจการได้ไม่เกินคันละ 1 ล้านบาทนั้น ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีในเรื่องความเป็นธรรมและและความยืดหยุ่น และบริบททางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้งานรถยนต์ดังกล่าวของกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นพบว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งประเภทรถยนต์เอาไว้ตามกฎหมายพิกัดสรรพสามิตนั้นได้กำหนดไว้อย่างเหมาะสมแล้ว แต่หลักเกณฑ์ที่จำกัดมูลค่าต้นทุนของรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนไว้เพียง 1 ล้านบาทนั้นไม่เหมาะสมหลายประการ เนื่องจากมีการจำกัดมูลค่าที่ไม่สอดคล้องกับบริบททางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมากกว่าที่ควรและเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการที่ประสงค์จะใช้รถยนต์ดังกล่าวในกิจการอย่างแท้จริง และอาจนำไปสู่การวางแผนเพื่อหลบหลีกภาษีอากรอันเป็นการขัดต่อหลักการจัดเก็บภาษีอากรตามหลักการภาษีอากร และหลักรายจ่ายทางภาษี ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำกัดมูลค่าต้นทุน และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This Individual Study aims to study the criteria of tax depreciation of passenger cars and transport vehicles not exceeding 10 seats for corporate income tax calculation. With the assumption of the study, the current rules on limitation of depreciation allows entrepreneurs to calculate the business expense of such cars and vehicles at a maximum of 1 million baht, which is inappropriate and inconsistent with the good tax principles, in terms of equity and flexibility, and the economic context. Therefore, such rules shall be revised to be more appropriate and consistent with the business use of such cars and vehicles. In studying and proving the aforementioned assumptions, it was found that the aforementioned criteria classifying cars in accordance with the Excise Tariff Act have appropriately specified. However, the criteria limiting the cost value of passenger cars and transport vehicle with not exceeding 10 seats at only 1 million baht are inappropriate in many respects, resulting in paying more corporate income tax and causing unfairness to entrepreneurs who truly wish to use such cars in their business. This may also lead to tax avoidance, which is extremely contrary to the tax principles and tax expenditure principles. For this reason, it is suggested that relevant secondary laws should be amended to improve the cost value limitation criteria and additional criteria should be established to diversify the utilization of the business assets.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วานิช, ปวริศา, "แนวทางการปรับปรุงการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางภาษี : ศึกษากรณีรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสาร" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13179.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13179