Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
สิริกัญญา โฆวิไลกูล
Second Advisor
อภิชน จันทรเสน
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.449
Abstract
หลักการรักษาเงินทุนของบริษัทถือเป็นหลักการที่สำคัญของกฎหมายบริษัทที่มีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ และเพื่อคุ้มครองผู้ถือหุ้นมิให้ได้รับความเสียหายจากการที่ทุนของบริษัทลดลง อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้มีการยกเลิกหรือผ่อนคลายหลักการดังกล่าวลง เนื่องจากการกำหนดหลักการรักษาเงินทุนนั้นก่อให้เกิดความขัดข้องทางธุรกิจในทางปฏิบัติและก่อให้บริษัทเกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หากแต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทจำกัดในประเทศไทยยังปรากฏว่าบทบัญญัติต่าง ๆ ยังคงรองรับหลักการรักษาเงินทุนอยู่โดยให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด โดยมีบทบัญญัติซึ่งห้ามมิให้บริษัทถือหุ้นและซื้อหุ้นของตนเองคืนซึ่งไม่เหมาะสมต่อลักษณะการประกอบธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในปัจจุบันซึ่งเป็นธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหากฎหมายการถือหุ้นของตนเองและการซื้อหุ้นคืนของวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่วิสาหกิจเริ่มต้นซึ่งมักจะจัดตั้งในรูปแบบของบริษัทจำกัดไม่สามารถซื้อหุ้นของตนเองคืนกลับมาและนำมาถือเองเพื่อนำไปใช้บริหารทางการเงินและใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารต่าง ๆ ของบริษัทได้ เช่น นำไปจัดสรรให้แก่พนักงานตามโครงการจัดสรรหุ้นให้พนักงานของบริษัท (ESOP) หรือการทยอยให้หุ้น (Vesting) ได้ และศึกษาเปรียบเทียบการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยบริษัทในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศสิงค์โปร์ รวมถึงหลักเกณฑ์ว่าด้วยวิธีการซื้อหุ้นคืนในบริษัทมหาชนจำกัดในประเทศไทยเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทยให้เหมาะสมและคุ้มครองผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของบริษัท
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The doctrine of capital maintenance is an important principle of company law as it deals with the core of corporate financial operations and management. However, some countries have repealed these principles to avoid conflicts and expenses. In Thailand, the doctrine of capital maintenance prevents limited companies from repurchasing shares that are inconsistent with startup businesses. This Independent Study focuses on legal issues surrounding share repurchases and treasury stocks in Thai startups. It analyzes the problems resulting from limited companies' inability to use share repurchases for financial purposes, such as allocating them to employees through Employee Stock Ownership Plans (ESOP) or implementing vesting arrangements. The study also compares and examines amendments made to company laws in the United States, the United Kingdom, and Singapore including share repurchases in public limited companies in Thailand. Finally, the study proposes protective amendments to Thai company laws to address impacts on shareholders and company creditors.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ยิ่งกิจภิญโญ, ปภาวี, "ปัญหากฎหมายการถือหุ้นของตนเองและการซื้อหุ้นคืนของวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13172.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13172