Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ณัชพล จิตติรัตน์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.446
Abstract
ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561นั้น จัดว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมากปัญหาหนึ่งของประเทศ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ยังกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอีกด้วย และด้วยเหตุที่การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง จึงทำให้ในปัจจุบันมีกลุ่มอาชญากรที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากการกระทำดังกล่าวในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก และปัญหาที่ตามมาคือผู้กระทำความผิดจะนํารายได้ที่ได้จากการกระทำความผิดนั้นไปทำการฟอกเงินเพื่อนําเงินดังกล่าวกลับเข้าสู่ระบบการเงินปกติ อีกทั้งยังนํามาใช้เป็นทุนในการประกอบความผิดต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายฉบับใดสามารถบังคับใช้เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้เองจึงจําเป็นต้องหามาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพเพื่อมาบังคับใช้ ได้แก่ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญาที่รุนแรงและข้อสำคัญคือมีมาตรการริบทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนผู้กระทำความผิด รวมถึงสกัดกั้นการฟอกเงินจากการกระทำความผิดที่กล่าวมาได้ จึงควรกําหนดให้การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อที่จะนํามาตรการทางกฎหมายจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The problem and impact arising from unfair practices relating to digital asset trading are considered significant and a major issue for the country. Not only does it cause harm to investors in the digital asset market, but it also affects the stability and security of the digital asset market. Furthermore, due to the high economic returns associated with unfair practices in digital asset trading, there is currently a large group of economic offenders seeking benefits from such activities in the digital asset market. The subsequent problem is that these offenders use the proceeds from their illegal activities for money laundering and continue to engage in further wrongdoing. However, currently, there is no effective legislation in place to prevent and control these unfair practices in digital asset trading. Efficient measures are essential to prevent and suppress unfair practices in digital asset trading. The Anti-Money Laundering Act B.E. 2542 provides a strong legal framework with strict penalties and asset forfeiture mechanisms, reducing offenders and hindering money laundering. Hence, it is advisable to designate unfair practices in digital asset trading as predicate offenses under the Anti-Money Laundering Act B.E. 2542, in order to leverage the legal tools provided by the aforementioned statute for the purpose of effectively addressing this issue.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เดชมา, ณัฐชยา, "การกําหนดให้ความผิดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13169.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13169