Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.196
Abstract
จากการที่ประเทศไทยได้ปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 และมีการผลักดันส่งเสริมให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยยกเลิกความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อเสพหรือเสพ แต่ยังคงควบคุมในส่วนของช่อดอกกัญชา และห้ามมีปริมาณความเข้มข้นของสาร THC (Tetrahydrocannabinol) เกินกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ซึ่งปลดกัญชาโดยปราศจากกฎหมายควบคุมอย่างชัดเจนทำให้เกิดภาวะสุญญากาศในการควบคุมผลิตภัณฑ์กัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้อายุของเด็กที่เสพหรือบริโภคกัญชามีอายุลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุอันเกิดจากการที่เด็กหรือเยาวชนบริโภคผลิตภัณฑ์กัญชาอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่ตั้งใจบริโภคและเข้าใจผิดว่าไม่มีส่วนผสมของกัญชาจึงบริโภค และการบริโภคนั้นอาจส่งผลร้ายในเด็กและเยาวชนในบางราย เช่น ผลิตภัณฑ์กัญชาประเภทอาหารที่ทำออกมาในรูปแบบของขนมที่มีขายในท้องตลาดทั่วไปจำพวกคุ้กกี้ทำให้มีลักษณะที่คล้ายกับโอรีโอ้โดยใส่ส่วนผสมของกัญชาเข้าไปในขนม โดยลักษณะของอาหารนี้อาจทำให้เด็กและเยาวชนเกิดความเข้าใจผิดว่าสามารถรับประทานได้ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการใช้บริโภคกัญชา หากออกแบบให้มีลักษณะที่ดึงดูดเด็กและเยาวชนก็จะเกิดปัญหาจากการที่ผู้บริโภคจะเป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุลดน้อยลง ทั้งยังไม่มีการจำกัดพื้นที่และขอบเขตของสถานที่ที่สามารถจำหน่ายและบริโภคไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนไม่มีการกำหนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ในด้านบรรจุภัณฑ์และฉลาก รูปแบบโฆษณาและการตลาดเพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ ซึ่งประเด็นทั้งหมดนี้หากไม่มีการควบคุมก็จะส่งผลเสียต่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาในเด็กและเยาวชนได้ จึงควรมีการกำนดมาตรการ หรือกฎหมายที่ใช้ควบคุมผลิตภัณฑ์กัญชาให้ชัดเจน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาถึงกฎหมายการควบคุมผลิตภัณฑ์กัญชาในต่างประเทศเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Following Thailand's removal of cannabis from the Category 5 narcotics list and the promotion of cannabis as an economic crop, Thailand has decriminalized its production, importation, exportation, possession for sale, and personal use. The lack of a clear regulatory framework surrounding cannabis has created a loophole in controlling cannabis products, particularly in safeguarding children and adolescents from easy access. This has resulted in decrease the age of cannabis consumers, leading to frequent incidents involving minors consuming cannabis products, both intentionally and mistakenly believing these products contain no cannabis. Such consumption can have detrimental effects on children and teenagers, as seen in cannabis-infused food products, like cookies that mimic Oreos, which may mislead young consumers into thinking they are safe to eat. Additionally, if cannabis consumption devices are designed to appeal to minors, it will exacerbate the problem of younger individuals engaging in consumption. There is also an absence of clear limitations on where cannabis can be sold and consumed, along with no defined standards regarding product packaging, labeling, advertising, and marketing, specifically aimed at protecting minors. Without effective regulation, access to cannabis products by children and adolescents could significantly increase. Therefore, it is crucial to establish clear measures or laws to regulate cannabis products. It is imperative to study cannabis control laws in other countries to adapt them appropriately for Thailand.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุขเกษม, ศศินิภา, "ปัญหาการควบคุมผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อป้องกันการเข้าถึงจากเด็กและเยาวชน" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13158.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13158