Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.194
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความรับผิดในทางอาญากรณีการทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมสูญหาย ในขอบเขตความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยผู้วิจัยมุ่งศึกษาวิวัฒนาการความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ องค์ประกอบความผิด แนวคิดและการตีความกฎหมายในกรณีของการทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมสูญหายไป เปรียบเทียบกับแนวคิดและมาตรการการลงโทษของกฎหมายต่างประเทศ ที่กำหนดให้การทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นสูญหายเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จากการศึกษาพบว่าแนวคิดเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของประเทศไทย ในกรณีการทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมสูญหาย แบ่งออกเป็น 2 แนวคิด กล่าวคือ แนวคิดแรกเห็นว่า การทำให้ทรัพย์สูญหายถูกตีความว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำลาย อันเป็นลักษณะของการกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่ในอีกแนวคิดหนึ่งเห็นว่า วัตถุประสงค์ของการลงโทษความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ต้องเป็นการกระทำต่อทรัพย์โดยตรงเท่านั้น จึงไม่ครอบคลุมถึงการทำให้ทรัพย์สูญหายด้วย จากปัญหานี้ทำให้การตีความกฎหมายถูกแบ่งเป็น 2 แนวทาง ไม่มีความชัดเจนแน่นอน ขัดต่อหลักประกันทางอาญา และการไม่กำหนดให้การทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมสูญหายให้เป็นความผิดอาญาที่ชัดเจน ย่อมเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้กระทำผิดไม่ได้รับการลงโทษที่ได้สัดส่วนกับการกระทำ และผู้เสียหายไม่ได้รับความยุติธรรมจากการดำเนินคดีดังนั้นผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดในทางอาญากรณีการทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมสูญหาย โดยการเสนอให้เพิ่มเติม “ทำให้สูญหาย" ให้เป็นลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 อันเป็นการขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This Independent study investigates criminal liability for losing another person's or co-owned property, analyzing Thailand's "causing damage to property" offense and comparing it to foreign laws that criminalize property loss.From the study, it was found that the concept of enforcing criminal law for crimes of property loss in Thailand, particularly when the property belongs to another person or co-owner, is divided into two main interpretations. The first concept views the loss of property as a form of destruction, which aligns with the nature of the offense of causing property damage. In contrast, the second view argues that the purpose of punishing property damage should be limited to direct actions against the property itself, and therefore, does not encompass cases where the property is simply lost. This lack of consensus in legal interpretation creates uncertainty and ambiguity. It potentially contradicts principles of criminal justice and creates a legal loophole. Without a clear definition of causing the loss of another person's or co-owned property as a criminal offense, perpetrators may escape punishment commensurate with their actions, and victims may be denied justice through legal proceedings.Therefore, the researcher proposes amending Section 358 of the Thai Criminal Code to explicitly include "causing loss" as a criminal act under the offense of causing property damage. This amendment would broaden the scope of the law's intended protection.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บุรมัธนานนท์, มรรยาท, "ความรับผิดในทางอาญากรณีการทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมสูญหาย" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13156.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13156