Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
วรพล มาลสุขุม
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.193
Abstract
เอกัตฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การขอใช้ประโยชน์ในที่สาธารณประโยชน์ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยมุ่งศึกษาถึงแนวคิด หลักการ และวิธีการขั้นตอนการขอใช้ประโยชน์ในที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งถือเป็นที่ดินของรัฐโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงศึกษารูปแบบของรัฐและการปกครองของแต่ละประเทศ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ว่าการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถขอใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐได้นั้นเป็นผลมาจากการที่กฎหมายกำหนดขั้นตอนการขอใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐที่ไม่สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจและขัดต่อหลักการปกครองตนเองอย่างมีอิสระของท้องถิ่นหรือไม่จากการศึกษาพบว่า การขอใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่ได้กำหนดเรื่องอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะไว้แต่อย่างใด อีกทั้งเกณฑ์ในการพิจารณาที่ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน ทำให้การพิจารณาคำขอใช้ประโยชน์ไม่ได้พิจารณาเพียงขั้นตอนตามกฎหมาย แต่รวมถึงการตรวจสอบความเหมาะสมขององค์กรปกครองของท้องถิ่น ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถขอใช้ที่ดินของรัฐในพื้นที่ได้หากราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไม่อนุญาต ดังนั้น เอกัตฉบับนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนการขอใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งจะทำให้ที่ดินของรัฐถูกใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this independent study is to examine Criteria for Utilization of Public Land by The Local Government in Thailand. This study aims to understand concepts, principles, and processes for how to utilize state land, as well as to explore forms of state relating to the consideration of the requests. This is especially for the ones that may cause an inconsistency between the principles of decentralization and local self-government. According to the study, the utilization of state land following Section 9 of the Land Code has not limited to the usage of the powers and roles of the local government in providing public services. This section also has no clarification of criteria. This results in that the local governments become unable to provide the request for utilization of state land from the central or provincial government. Therefore, this study recommends the amendment of related sections to standardize the requests for utilization of state land in order to provide public services. This is expected to improve the efficiency of the utilization of state land and satisfy the needs of the local government.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แก่นโพธิ์, มณฑล, "หลักเกณฑ์การขอใช้ประโยชน์ในที่สาธารณประโยชน์โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13155.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13155