Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การกำหนดให้ความผิดฐานสำแดงเท็จตามกฎหมายศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
ณัชพล จิตติรัตน์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.186
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ค้นหาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานสำแดงเท็จตามกฎหมายศุลกากรและมาตรการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เนื่องจากสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการกระทำความผิดอาญาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหนีภาษีอากร การฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และอาชญากรรมทางการเงินประเภทต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการนำเข้าและส่งออกโดยมีการออกบัญชีราคาสินค้าเป็นเท็จ (trade mis-invoicing) หรือการกำหนดราคาสินค้าเป็นเท็จ (trade-mispricing) ซึ่งเป็นอาชญากรรมทางการเงินโดยเป็นหนึ่งในวิธีการฟอกเงินผ่านการค้า (trade-based money laundering) โดยอาศัยประโยชน์จากบัญชีราคาสินค้ามาใช้ในการถ่ายโอนเงินตราข้ามพรมแดนด้วยวิธีการฉ้อฉลผ่านการสำแดงราคา ปริมาณ หรือ คุณภาพสินค้าไม่ตรงกับความเป็นจริง การออกบัญชีราคาสินค้าที่เป็นเท็จจึงอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การผสมปนเงินที่มีแหล่งที่มาผิดกฎหมายเข้ากับเงินที่มีแหล่งที่มาถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานสำแดงเท็จตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มีอัตราโทษต่ำไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้ และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 (7) ได้กำหนดความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเท่านั้น โดยไม่รวมถึงความผิดฐานสำแดงเท็จตามกฎหมายศุลกากรผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาการกำหนดให้ความผิดฐานสำแดงเท็จตามกฎหมายศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งเป็นการป้องกันและปราบปรามการใช้ช่องทางการค้าระหว่างประเทศในการถ่ายโอนเงินตราซึ่งมีที่มาผิดกฎหมายข้ามพรมแดน และสามารถนำมาตรการเกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ในการจัดการกับทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This paper aims to study, assess and find ideas and principles relating to false declaration offence under Customs Act and anti-money laundering legal measures. As the present situation of international trade tends to have potential risks in criminal offences such as tax evasion, money laundering, terrorist financing and financial crimes. Furthermore, there are incidents imports and exports of goods by trade mis-invoicing or trade-mispricing which is one type of trade-based money laundering methods. It utilizes trade invoice to conduct cross-border money transfer by fraudulent means declaring false value, quantity or quality of goods. Such false declaration may have different purposes such as mixing criminal proceeds with legitimate ones However, False declaration offence under Customs Act B.E. 2560 has low penalty that cannot serve a purpose of crime prevention and suppression. Moreover, Section 3 (7) Anti-Money Laundering Act B.E. 2542 only prescribe offences relating to smuggling under customs law as predicate offence excluding false declaration offence under customs law.The researcher aims to study prescription of false declaration offence under Customs Act as a predicate offence under Anti-Money Laundering Act in order to prevent and suppress the illicit money transfer via international trade and bring anti-money laundering legal measures to deal with criminal proceeds appropriately.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พูลสวัสดิ์, ปฐพี, "การกำหนดให้ความผิดฐานสำแดงเท็จตามกฎหมายศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13148.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13148