Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.174
Abstract
การบังคับตามคำชี้ขาดส่วนดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดของอนุญาโตตุลาการที่ทำขึ้นในต่างประเทศตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ยังคงเป็นประเด็นปัญหาตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา หากบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวจะเป็นการยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมมอันดีของประชาชน เนื่องจากขัดต่อมาตรา 224 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามกฎหมายภายใน ศึกษาเปรียบเทียบกับการบังคับตามคำชี้ขาดของศาลต่างประเทศประเทศอังกฤษ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสิงคโปร์ รวมถึงอนุสัญญานิวยอร์ก ค.ศ. 1958 แม้กฎหมายภายในของประเทศกรณีศึกษามีบางกรณีที่ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเช่นเดียวกับกฎหมายภายในของประเทศไทย แต่ในกฎหมายอนุญาโตตุลาการนั้นมีการบัญญัติให้อำนาจคณะอนุญาโตตุลาการที่จะกำหนดดอกเบี้ยเชิงเดี่ยวและดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยได้ นอกจากนี้แนวทางการตีความนโยบายสาธารณะของศาลประเทศกรณีศึกษายังใช้แนวทางการตีความอย่างแคบ นำมาสู่แบ่งระดับการขัดต่อนโยบายสาธารณะ จากการศึกษาพบว่าดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดไม่ใช่สิ่งที่ขัดต่อนโยบายสาธารณะอย่างชัดแจ้งในระดับสากลหรือขัดต่อหลักพื้นฐานของความยุติธรรมและศีลธรรมซึ่งเป็นระดับที่สอง ศาลจึงควรชั่งน้ำหนักและสร้างสมดุลระหว่างหลักความเป็นที่สุดและผลที่จะเกิดขึ้นจากการยอมบังคับตามสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายภายในอันเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ โดยผู้ศึกษามีความเห็นให้น้ำหนักไปทางหลักความเป็นที่สุดของคำชี้ขาด ท้ายที่สุดจึงได้มีการเสนอแนะให้ศาลไทยมีแนวทางการตีความนโยบายสาธารณะหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างแคบตามแนวทางของอนุสัญญานิวยอร์กเพื่อให้การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำขึ้นในต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Enforcement of Compound Interest in Foreign Arbitral Award under the Arbitration Act B.E. 2545 is an issue following the Supreme Court decision because the enforcement would be contrary to the public policy as compound interest is not allowed under section 224 Civil and Commercial Code. The way compared to the enforcement in England, Hong Kong, and Singapore. Although compound interest is not allowed in some cases under domestic law, the arbitration law grants tribunals the authority to award both simple interest and compound interest.Moreover, public policy interpretation is narrow; consequently, the researcher arranged the contrary to public policy and put compound interest in the second. Since it is not extremely contrary to universal public policy and basic notions of morality and justice. Therefore, The Competent Court should balance between the finality of the award and the results of enforcement which is contrary to domestic public policy.Finally, the researcher tended to the finality of the award and suggested that the court should adopt a narrow interpretation of public policy under the New York Convention in order to provide the effectiveness of the enforcement of foreign arbitral awards in Thailand.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ไชยรัตน์, กาลัญญุพรรษ, "การบังคับตามคำชี้ขาดส่วนดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดของอนุญาโตตุลาการที่ทำขึ้นในต่างประเทศ" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13136.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13136