Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2023

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2023.168

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษานโยบายการยกระดับฝีมือแรงงาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ที่สอดคล้องกับมาตรการจูงใจทางภาษีอากร และการนำส่งรายงานการฝึกอบรมลูกจ้างของนายจ้าง 2. ศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการจูงใจทางภาษีอากร และการนำส่งรายงานการฝึกอบรมลูกจ้างของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ที่มีผลต่อการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในประเทศ และ 3.เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของฝีมือแรงงานในประเทศ ที่สอดคล้องกับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และการนำส่งรายงานฝึกอบรมลูกจ้างจากผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ในหัวข้อการลดหย่อนภาษีร้อยละ 200 นั้น มีข้อกำหนดในการยื่นลดหย่อน รวมไปถึงการยื่นรายงานการอบรมเพื่อนำส่งให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่เฉพาะเจาะจงของหน่วยงาน กล่าวคือ ต้องนำส่งรายงานตามที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนดเท่านั้น และหลักสูตรที่ยื่นอบรมต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้เช่นกัน ทำให้ถึงแม้ว่ากรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะประชาสัมพันธ์ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นไปเพื่อการสร้างแรงจูงใจให้กับสถานประกอบการในการส่งลูกจ้างเข้าฝึกอบรม ตามนโยบายแผนพัฒนาชาติก็ตาม แต่มาตรการทางภาษี และการนำส่งรายงานการฝึกอบรมยังคงไม่ครอบคลุมและถูกจำกัดอยู่ในกรอบข้อกำหนด ทำให้การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในไทยไม่สามารถพัฒนาฝีมือแรงงานของคนในประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และกระจายความรู้ในแขนงอื่น ๆ ได้กว้างขวางเพียงพอผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดมาตรการลดหย่อนทางภาษี และการส่งรายงานการฝึกอบรมควรมีการกำหนดรูปแบบแผนที่ครอบคลุมทุกกิจกรรม ที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาทักษะ และความรู้ในการทำงาน 2) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตรอบรมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ตอบโจทย์การยกระดับฝีมือแรงงานอย่างแท้จริง 3) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานควรให้การสนับสนุนสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการฝึกอบรม รวมไปการเพิ่มอัตราเงินคืนให้แก่สถานประกอบการ 4) การยกระดับฝีมือแรงงานอาจจะต้องเพิ่มเติมในส่วนของการสนับสนุนการยกระดับความรู้เชิงบูรณาการ และการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลที่ไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎีเพียงอย่างเดียว

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.