Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2023

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2023.164

Abstract

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีจำนวนคนพิการประมาณ 2.2 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 3.39 ของประชากรไทยทั้งประเทศ ซึ่งสามารถจำแนกประเภทความพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ได้ 7 ประเภท ประกอบด้วย ความพิการทางการเคลื่อนไหวและร่างกาย ความพิการทางการได้ยินและสื่อความ ความพิการทางการมองเห็น ความพิการทางด้านจิตใจและพฤติกรรม ความพิการทางด้านสติปัญญา ความพิการทางการเรียนรู้ และความพิการทางออทิสติก โดยจากข้อมูลพบว่าในประเทศไทยมีสัดส่วนคนพิการทางการเคลื่อนไหวสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 51.57 ของจำนวนคนพิการทั้งสิ้น อีกทั้งพบว่าคนพิการในประเทศไทยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก คือ การเดินทางนอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลจากกรมขนส่งทางบก ซึ่งเปิดเผยข้อมูลการทำใบขับขี่ใหม่และต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ของคนพิการมีแนวโน้มสูงขึ้นจากอดีต ประกอบกับข้อมูลที่ผู้เขียนดำเนินการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับคนพิการ ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า คนพิการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลสูงที่สุด รองลงมาคือรถแท็กซี่ และเดินทางด้วยมอเตอร์ไซดัดแปลงส่วนบุคคลเป็นอันดับที่สาม เนื่องจากมีความสะดวกสบาย สามารถเดินทางได้อย่างเป็นอิสระ และเป็นการหลีกเลี่ยงอุปสรรคจากการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีเพียงมาตรการมาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะให้แก่คนพิการ แต่ยังไม่มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อรถยนต์และอุปกรณ์เสริมสำหรับคนพิการและมาตรการเสริมอื่นที่มิใช่ภาษี เพื่อส่งเสริมให้คนพิการสามารถเดินทางได้สะดวก ปลอดภัย และดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ อีกทั้ง จากการศึกษามาตรการในต่างประเทศ พบว่า ต่างประเทศเล็งเห็นถึงปัญหาในการเดินทางของคนพิการ จึงมีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่มิใช่ภาษีในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเดินทางและส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงการเดินทางได้อย่างเท่าเทียมเหมือนคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาถึงมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่มิใช่ภาษีของประเทศออสเตรเลียและประเทศไอร์แลนด์ เนื่องจากทั้งสองประเทศต่างก็มีมาตรการเพื่อบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์รวมถึงอุปกรณ์เสริมเพื่อดัดแปลงรถยนต์ โดยกำหนดเงื่อนไขในการให้สิทธิประโยชน์แตกต่างกันออกไป อีกทั้ง มีมาตรการเสริมอื่นที่มิใช่ภาษี เพื่อให้คนพิการได้มีทางเลือกในการเดินทางนอกเหนือจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยจากการศึกษาพบว่าประเทศไทยควรปรับแนวทางมาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษีดังต่อไปนี้ (1)มาตรการทางภาษี(1.1)การกำหนดให้มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ รวมถึงรถยนต์ดัดแปลงแก่คนพิการ เพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อรถยนต์ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากฐานการบริโภค โดยผู้ที่รับภาระภาษีที่แท้จริงคือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย โดยที่บุคคลนั้นไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่นได้ ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาระแก่ผู้ที่มีรายได้น้อยมากกว่าผู้ที่มีรายได้มาก(2)มาตรการส่งเสริมอื่นที่มิใช่ภาษี(2.1)การให้เงินอุดหนุนสำหรับค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถแท็กซี่ เพื่อให้คนพิการที่ยังไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล หรือ ไม่สามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้ มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น(2.2)มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าทางด่วน (Toll fee) สำหรับคนพิการ เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ในกรณีที่คนพิการมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนต้องใช้บริการทางด่วน(2.3)การสนับสนุนค่าใช่จ่ายสำหรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เพื่อช่วยให้คนพิการที่ยังไม่สามารถซื้อรถยนต์ส่วนบุคคล มีทางเลือกในการเดินทางที่ประหยัด สะดวก และปลอดภัย เนื่องจากมีผู้ติดตาม เช่น คู่สมรส หุ้นส่วนทางกฎหมาย (Civil partnership) หรือ เพื่อนร่วมเดินทาง (Companion) เดินทางไปด้วยและช่วยดูแลระหว่างเดินทาง(2.4)การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สร้างแพลตฟอร์มหรือแอพพลิเคชั่นสำหรับการวางแผนการเดินทาง โดยรวม ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดและบอกตารางเวลาเดินทาง เพื่อช่วยให้คนพิการสามารถบริหารเวลาในการเดินทางได้ และเพื่อให้ทราบว่ายานพาหนะนั้นรองรับคนพิการที่ใช้รถเข็น (Wheelchair) หรือไม่(2.5)การสนับสนุนให้นำป้ายสัญลักษณ์มาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของคนพิการ เพื่อช่วยให้คนพิการที่มีปัญหาทางด้านการสื่อสารสามารถบอกข้อจำกัดและความต้องการของตนเองขณะเดินทางกับคนอื่นที่ร่วมเดินทาง ซึ่งการใช้ป้ายหรือสัญลักษณ์จะสามารถทำให้เข้าใจได้ในทันทีทั้งฝ่ายคนพิการและคนอื่นๆในสังคมอย่างไรก็ตาม มาตรการที่จะนำมาปรับใช้ข้างต้น ภาครัฐต้องมีการพิจารณาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขต่างๆให้ชัดเจน เช่น กำหนดประเภทของผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ว่าครอบคลุมถึงใคร และมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้รับสิทธิประโยชน์ รวมถึงการกำหนดจำนวนสิทธิประโยชน์ที่ให้ และคุณสมบัติของรถยนต์ที่คนพิการซื้อว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและส่งเสริมการดำเนินชีวิตอิสระ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน คือ ให้สิทธิประโยชน์อย่างพอเหมาะ พอควร ตามความจำเป็นและเกิดประโยชน์มากกว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่เอกชนหรือสังคมโดยส่วนรวม

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.