Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2023

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2023.162

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และยุทธศาสตร์ชาติ เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ดังนั้น จำเป็นจะต้องมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีหลักการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษานี้จึงต้องการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมให้สอดล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ วิธีการศึกษาคือการศึกษาพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้นำหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันที่สอดคล้องแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำมาเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ตัวชี้วัดของแผนยุทธศาสตร์ชาติที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และตัวชี้วัดกฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีกฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและประกาศใช้ตัวชี้วัดของกฎหมายอย่างเป็นทางการ ทำให้เป็นตัวอย่างในการเปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดของกฎหมายโรงงานอุตสาหกรรมไทยที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและยุทธศาสตร์ชาติ ผู้เขียนได้เสนอให้ใช้ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและยุทธศาสตร์ชาติ โดยครอบคลุมถึงกระบวนการทางอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถสรุปตัวชี้วัดเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ ควรมีตัวชี้วัด คือ ผลิตภาพทรัพยากร 2) ขั้นตอนการเปลี่ยนวัสดุดิบและทรัพยากรธรรมชาติให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ควรมีตัวชี้วัด คือ อัตราการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร อัตราการใช้ทรัพยากรต่อหน่วย GDP 3) ขั้นตอนการนำวัสดุและทรัพยากรที่เหลือใช้มาปรับผลผลิตให้กลายเป็นวัตถุดิบหรือทรัพยากรขั้นทุติยภูมิ ควรมีตัวชี้วัด คือ อัตราการใช้ทรัพยากรขั้นทุติยภูมิ อัตราการรีไซเคิลทรัพยากรทุติยภูมิ อัตราการใช้ประโยชน์วัสดุหมุนเวียนในการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรม ปริมาณการฟื้นตัวของทรัพยากรหมุนเวียน4) ขั้นตอนการกลับคืนสู่ธรรมชาติของทรัพยากร ควรมีตัวชี้วัด คือ ปริมาณการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างปลอดภัย ปริมาณการปล่อยมลพิษที่สำคัญ จำนวนประชาชนมีจิตสาธารณะและรับผิดชอบต่อสังคม โดยตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้มีเครื่องมือที่สามารถติดตามและประเมินผลทำให้เกิดการบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามยุทธศาสตร์ชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.