Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
คนึงนิจ ขาวแสง
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.160
Abstract
ปัจจุบันกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นมุ่งเน้นคุ้มครองการใช้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ป้องกันไม่ให้บุคคลอี่นที่มิใช้เจ้าของลิขสิทธิ์นำผลงานไปใช้ ทั้งยังมุ่งปกป้องชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์อาจถูกโอนเปลี่ยนมือจากผู้สร้างสรรค์ไปสู่เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยได้รับค่าตอบแทนภายใต้สัญญาที่ทั้งสองฝ่ายเจรจาตกลงเงื่อนไขกันไว้ แต่ในบางสถานการณ์ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันมีลิขสิทธิ์อาจไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมจากการโอนผลงานลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งหลักการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้กับผู้สร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์ยังไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ ทำให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์นั้นไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเสียสิทธิในผลงานของตนไป เมื่อศึกษากฎหมายสหภาพยุโรปที่เล็งเห็นถึงการเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการใช้ในชีวิตประจำวัน ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสิทธิของผู้สร้างสรรค์และสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงมีการบัญญัติกรอบกฎหมายเพิ่ม โดยมีจุดประสงค์หลักคือการแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลในการเจรจาต่อรองระหว่างผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ กับบุคคลที่ได้รับสิทธิ โดยให้ความสำคัญกับมาตรการที่จะให้แน่ใจว่าผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและได้สัดส่วน และอนุญาตให้ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ขอรับค่าตอบแทนเพิ่มเติมเมื่อค่าตอบแทนที่ตกลงแล้วน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้และประโยชน์ที่มีจากการใช้ผลงานของพวกเขา สิทธิในการรับข้อมูลที่สม่ำเสมอ ทันเวลา และเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการใช้บริการผลงานของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมถึงกระบวนการทางเลือกในการแก้ไขข้อพิพาท และสิทธิในการเพิกถอน เห็นได้ว่าทางสหภาพยุโรปพยายามถ่วงดุลสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์โดยการให้การคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์มากขึ้น เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงเสนอว่าควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนและสิทธิต่าง ๆ ของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถกำหนดเงื่อนไขในสัญญาหรืออำนาจต่อรองกับคู่สัญญาหรือผู้รับโอนสิทธิได้อย่างเป็นเหมาะสมและได้สัดส่วน
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ลี้อิสสรพงษ์, สายสิทธิ์, "หลักการจัดสรรค่าตอบแทนที่เหมาะสมและได้สัดส่วนแก่ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13116.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13116