Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2023

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2023.159

Abstract

การนำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาปรับใช้กับการดำเนินกระบวนการสืบสวนสอบสวนเหตุคุกคาม (Harassment) ภายในบริษัทเอกชนยังมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ เนื่องจากบุคคลที่อาจถูกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอาจเป็นได้ทั้งผู้ร้องเรียน พยาน ผู้ถูกกล่าวหา หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการสืบสวน และไม่จำกัดแต่เพียงเฉพาะพนักงาน แต่ยังรวมถึงบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียด้วย นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงอันเกี่ยวแก่เหตุคุกคามส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวด้วย จึงก่อให้เกิดความซับซ้อนในระบบการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในการสืบสวนสอบสวนเหตุดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาในการพิจารณาหาฐานทางกฎหมาย (Lawful Basis) ที่เหมาะสม และความได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์ขององค์กรกับสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Proportionality) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องขอบเขตการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกจัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์อันเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่มอบให้พนักงานใช้ในการปฏิบัติงาน ที่ยังมีปัญหาในการตีความทางกฎหมายว่าการกระทำในลักษณะใดและเพียงใดที่ถือว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของบริษัทและได้สัดส่วนสำหรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อได้ทำการศึกษาวิเคราะห์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักสากล กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายในประเทศไทยประกอบกันแล้ว พิจารณาเห็นว่าภาครัฐควรพิจารณาออกกฎหมายและแนวนโยบายเพิ่มเติมเพื่อความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ (Legal Certainty) และความได้สัดส่วน (Proportionality) โดยภาครัฐควรมีการออกกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection Law) เพื่อคุ้มครองกระบวนการสืบสวนสอบสวนภายในองค์กรเอกชนให้มีมาตรฐานและเป็นธรรม นอกจากนั้นภาครัฐควรประกาศแนวนโยบายของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเพิ่มเติมแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการสืบสวนสอบสวนภายในบริษัทเอกชน ประกอบกับการออกแนวนโยบายเพื่อสนับสนุนการจัดทำเอกสารตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ ได้แก่ เอกสารประเมินความสมดุลของผลประโยชน์ (Legitimate Interest Assessment) และเอกสารประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Impact Assessment) อันจะช่วยให้บริษัทสามารถนำแนวทางเหล่านี้มาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ท้ายที่สุด ภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือจากภาคเอกชน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้กฎหมาย โดยการสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีการการจัดตั้งองค์กรหรือสมาคมเพื่อการสืบสวนสอบสวนภายใน (Corporate Investigation Association) ประกอบการจัดทำแนวทางการสืบสวนสอบสวนภายในบริษัทเอกชนให้ชัดเจน (Corporate Investigation Handbook) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ และสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะขององค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในที่สุด

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.