Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Second Advisor
ธนะศักดิ์ จรรยาพูน
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.155
Abstract
การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงกำลังเข้ามามีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจในประเทศไทย การทำธุรกรรมระหว่างผู้ขายบัญชีลูกหนี้ทางการค้ากับบริษัทแฟ็กเตอริงในปัจจุบันนั้นยังไม่มีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการโอนหนี้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการเรียกเก็บหนี้การค้า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับการดำเนินธุรกิจและกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการบริษัทแฟ็กเตอริง โดยบทบัญญัติที่ใกล้เคียงมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกรรมของบริษัทแฟ็กเตอริง จึงมีการนำบทบัญญัติกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้มาปรับใช้โดยเฉพาะในส่วนของบทบัญญัติเกี่ยวกับการเรียกเก็บหนี้การค้า ดังนั้นแล้วการไม่ชัดเจนในการนำกฎหมายมาปรับใช้ ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นในความคลุมเครือของสถานะและผลทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการเรียกเก็บจากบัญชีลูกหนี้ในธุรกิจแฟ็กเตอริง เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวสถานะและผลทางกฎหมายในการนำกฎหมายในปัจจุบันที่นำมาปรับใช้เป็นสำคัญ เพียงเฉพาะในกรอบของกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ในส่วนของปัญหาในการเรียกเก็บหนี้เท่านั้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางการกำหนดแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์ กฎระเบียบ เพื่อก่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บหนี้การค้าสำหรับธุรกิจแฟ็กเตอริง โดยเทียบเคียงกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการทำแฟ็กเตอริงเป็นประเทศแรก ๆ ของโลก อีกทั้งยังมีการวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไว้เพื่อแนวทางสำหรับการดำเนินธุรกรรมในการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง ผลการศึกษาพบว่า หากประเทศไทยจะทำการพัฒนาธุรกิจแฟ็กเตอริงให้ได้รับความนิยมและสร้างมาตรฐานการดำเนินงานธุรกิจให้เท่าเทียมกับต่างประเทศนั้น ควรมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานธุรกิจแฟ็กเตอริง โดยกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกเก็บหนี้โดยการกำหนดให้กระบวนการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ให้เกิดขึ้นโดยการรับทราบของทั้งสามฝ่าย ได้แก่ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และบริษัทแฟ็กเตอริง ซึ่งต้องมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการทำสัญญาชำระหนี้ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขในการทำสัญญาฉบับใหม่ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งสามฝ่ายปรึกษาหารือกันเพื่อไม่ให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญของการทำนิติกรรมสัญญาและข้อตกลงในสัญญา นอกจากนี้กำหนดแนวทางในการไล่เบี้ยและเรียกเก็บหนี้ให้ทุกฝ่ายมีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบต่อหนี้นั้นร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งควรมีการทบทวนและศึกษาเกี่ยวกับหน่วยงานของภาครัฐ เพื่อเข้ามากำกับดูแลตลอดจนออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นการเฉพาะ เนื่องจากการทำแฟ็กเตอริงนี้นั้นมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเงินทุนในการหมุนเวียนในธุรกิจได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แสงแดง, ภัทรฤทัย, "สถานะและผลกฎหมายในการดำเนินธุรกรรมแฟ็กเตอริงในประเทศไทย" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13111.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13111