Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
Second Advisor
ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.144
Abstract
บริษัทต่างๆทั่วโลก ปรับตัวด้วยการบังคับใช้นโยบาย Remote Work หรือการทำงานระยะไกล ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Work-From-Home (WFH) รวมไปถึง Work-From-Anywhere (WFA) จึงทำให้เกิดกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า Remote Workers ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาวไทยรูปแบบ Home Base หรือชาวต่างชาติรูปแบบ Host Base จะเป็นพนักงานบริษัท (Employee) ฟรีแลนซ์ (Freelance) หรือทำธุรกิจส่วนตัว (Entrepreneur) พวกเขาสามารถทำงานระยะไกลจากที่ไหนบนโลกก็ได้ สามารถทำงานได้โดยไม่มีเงื่อนไขของสถานที่และเวลาในการทำงาน เมื่อมีทำงานระยะไกลจากในประเทศไทยให้แก่นายจ้างหรือผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ กลุ่ม Remote Workers ต่างก็ต้องคำนึงถึงประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวกับคนเข้าเมืองและภาษีอากรที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า กลุ่ม Remote Workers มีเงินได้จากการทำงานระยะไกลจากในประเทศไทยให้แก่ต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีเงินได้บนแหล่งเงินได้นอกประเทศเมื่อนำเงินได้ดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยตามบทบัญญัติมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร โดยกลุ่ม Remote Workers แต่ละรูปแบบมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ที่แตกต่างกันตามนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้จ่ายและผู้รับ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) สำหรับรูปแบบการจ้างงานแบบ Employee ส่วนรูปแบบการจ้างงานแบบฟรีแลนซ์ (Freelance) มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) และรูปแบบการจ้างงานแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneur) มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เป็นผลทำให้ Remote Workers แต่ละรูปแบบต้องใช้แบบแสดงรายการในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่แตกต่างกันตามประเภทเงินได้พึงประเมิน โดยการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นผู้มีเงินได้สามารถเลือกยื่นได้ทั้งออนไลน์และกระดาษ แต่ทั้งสองรูปแบบยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับกลุ่ม Remote Workers เนื่องจากไม่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ รวมไปถึงอุปสรรคในการดำเนินการและเตรียมเอกสารประกอบการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอีกด้วย ซึ่งการกรอกเอกสารต่าง ๆ ต้องเป็นภาษาไทย เพราะหากไม่มีเลข ฯ ก็จะไม่สามารถยื่นภาษีได้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดทำให้ภาครัฐในฐานะผู้จัดเก็บภาษีไม่สามารถจัดเก็บรายได้เข้าคลังจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้เสียภาษีกลุ่มบุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยเป็นวิธีการประเมินตนเอง ( Self-Assessment) โดยผู้มีเงินได้มีหน้าที่แสดงประเภทเงินได้ จำนวนเงินได้ เพื่อคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยตนเอง ผู้เงินได้โดยเฉพาะกลุ่ม Remote Workers ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ทำให้ Remote Workers ชาวต่างชาติไม่ทราบว่าเงินได้ที่ตนได้รับจากการทำงานระยะไกลให้แก่นายจ้างหรือผู้ว่าจ้างในต่างประเทศต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ เสียตามหลักเกณฑ์ใด ในอัตราเท่าไหร่ และเสียอย่างไร นอกจากนี้ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บภาษี เพราะถ้าผู้มีเงินได้ไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเงินได้ที่ตนได้รับจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศไว้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็เป็นการยากต่อกรมสรรพากรในการตรวจสอบข้อมูลและทำให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีไม่ได้ หรือจัดเก็บได้แต่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ซึ่งทำให้ภาครัฐขาดรายได้ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกลุ่ม Remote Workers ชาวต่างชาติดังกล่าว
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สงวนรัตน์, ณิชกานต์, "การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีบุคคลธรรมดามีเงินได้เนื่องจากการทำงานระยะไกล (Remote Work) ในประเทศไทย" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13100.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13100