Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.141
Abstract
ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์" เมื่อปี 2564 โดยมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 12.3 ล้านคน และมากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีคนพิการ 2.1 ล้านคน ปัจจุบันผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้มีปัญหาสุขภาพ ประสบปัญหาด้านการเดินทาง กล่าวคือ มียานพาหนะที่สามารถรองรับกลุ่มคนพิเศษเหล่านี้น้อยเกินกว่าความต้องการ อีกทั้ง ยานพาหนะบางประเภทยังมีข้อจำกัดในการรองรับการใช้งานสำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ขนาดใหญ่ หรือการเข้าถึงเส้นทางที่คับแคบ ดังนั้นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง สำหรับรับส่งคนพิการและผู้สูงอายุ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรได้รับการผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการผลิตและให้บริการมากขึ้น เนื่องจากเป็นรถยนต์ที่สามารถนำมาใช้ในลักษณะของรถยนต์ส่วนตัวและรถขนส่งสาธารณะได้ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการรองรับการใช้งานของผู้ใช้วีลแชร์แบบธรรมดาและไฟฟ้าทั้งขนาดเล็กและใหญ่ และมีอุปกรณ์ที่ช่วยลดภาระและการพึ่งพาคนรอบข้างของคนพิการและผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งสำหรับรับ-ส่งคนพิการและผู้สูงอายุ ยังมีปัญหาด้านกฏหมายอยู่หลายประการ ประการที่ 1 คือปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากรถยนต์ดังกล่าวเข้าข่ายที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต 25% - 40% ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พิกัดที่ 06.02 ในกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ทำให้ผู้ให้บริการต้องแบกรับต้นทุนที่สูง จึงมีการผลิตรถยนต์ประเภทดังกล่าวน้อยเกินกว่าความต้องการของตลาด ประการที่ 2 ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการสนับสนุนและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่ชัดเจนในการควบคุมการผลิตและให้บริการอย่างเหมาะสมที่จะควบคุมให้การใช้รถประเภทนี้เพียงพอต่อความต้องการและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน งานวิจัยเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษากฏหมาย มาตรการการส่งเสริมและควบคุมความปลอดภัยในการผลิตและให้บริการรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนสำหรับรับส่งคนพิการ-ผู้สูงอายุของไทย และประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และหาแนวทางแนะนำเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ารัฐบาลไทยควรกำหนดมาตรการการส่งเสริมและควบคุมรถยนต์โดยสารดังกล่าว โดยกำหนดมาตรการทางภาษีที่เหมาะสม ออกกฏเกณฑ์การขออนุญาตผลิตรถยนต์ดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการและภาระของเจ้าหน้าที่ ให้เงินอุดหนุนและเงินสินเชื่อสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และเจ้าของกิจการที่จ้างงานคนพิการและผู้สูงอายุสำหรับซื้อรถยนต์โดยสารดังกล่าว รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น นอกจากนี้ควรมีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อควบคุมการผลิตรถยนต์ดังกล่าวให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล มาตรการเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงการแพทย์ของประเทศไทย อีกทั้งทำให้การผลิตรถยนต์มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และผู้ใช้บริการได้รับความปลอดภัยมากขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หลิน, เซียเวย, "มาตรการการส่งเสริมและควบคุมรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน สำหรับรับส่งคนพิการ - ผู้สูงอายุ" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13097.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13097