Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.139
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณาในรูปแบบการค้ามืด (Dark Patterns) ที่เป็นการชักจูงให้ผู้บริโภคกระทำหรือตัดสินใจในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเองหรือเป็นการจำกัดสิทธิการตัดสินใจของผู้บริโภค โดยการออกแบบเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในรูปแบบของ Dark Patterns มีทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่ Nagging (การสร้างความรำคาญ), Obstruction (การขัดขวาง), Sneaking (การแอบซ่อน), Interface Interference (การแทรกแซง) และ Forced Action (การกระทำโดยบังคับ) โดยในแต่ละรูปแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจตามที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องการ ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นการซื้อขายผ่านหน้าร้านค้าไปสู่การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ทำให้ต้องมีการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้มีความชัดเจนเพียงพอและให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องนี้ จึงสมควรกำหนดแนวทางหรือบทบัญญัติของกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคในการควบคุมการโฆษณาในรูปแบบของ Dark Patterns จากผลการศึกษาพบว่าในต่างประเทศมีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจนในการควบคุมการโฆษณาในทุกรูปแบบของ Dark Patterns และมีบทลงโทษเพื่อเยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นรูปแบบการค้ามืด (Dark Patterns) และเสนอให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้ชัดเจนเพียงพอในการกำกับดูแลการออกแบบเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณาของประเทศไทย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เด่นสุริยพรม, กษิณา, "แนวทางในการกำกับดูแลการออกแบบเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เป็นรูปแบบการค้ามืด (Dark Patterns) ต่อผู้บริโภค" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13095.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13095