Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2023

Document Type

Independent Study

First Advisor

ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2023.138

Abstract

ประเทศไทยนั้นประสบปัญหาหนี้นอกระบบในวงกว้าง ผู้ได้รับผลกระทบปัญหานี้โดยตรงคือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านชนบทและชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ กลุ่มคนเหล่านี้ต้องทนที่จะกู้หนี้ยืมสินมาในอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึงร้อยละยี่สิบต่อเดือน เพื่อนำเอามาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงมาก จึงทำให้ไม่สามารถหาเงินมาใช้คืนง่ายๆ ต้องติดอยู่ในวงจรอุบาว์แห่งการกู้หนี้ยืมสินไม่เรื่อยๆ ในขณะที่หากไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นได้ทันตามกรอบเวลาที่เจ้าหนี้นอกระบบกำหนด ก็จะถูกข่มขู่หรือทำร้ายร่างกาย ผู้มีรายได้น้อยไม่มีทางเลือกอื่นนัก เนื่องจากหากจะไม่ยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินในระบบ เช่น ธนาคารพาณิชย์ก็มักจะโดนปฏิเสธสินเชื่อ เนื่องจากสถาบันการเงินในระบบต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อย่างเคร่งครัด ทำให้จำเป็นจะต้องมีข้อพิจารณาจำนวนมาก ก่อนที่จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ ผู้มีรายได้น้อยที่ไปยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ จำเป็นจะต้องยื่นเอกสารแสดงหลักฐานทางการเงินที่เป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงยื่นหลักประกันที่เป็นสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ผู้มีรายได้น้อยจำนวนมากไม่อาจแสดงหลักฐานดังกล่าวได้สิ่งเหล่านี้ ธนาคารพาณิชย์จึงไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อยดังกล่าวได้ เพราะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงในการให้สินเชื่อที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กำหนดมาอย่างเคร่งครัด อีกประการหนึ่งที่สำคัญ ธนาคารพาณิชย์ไม่มีสาขาย่อยลงไปถึงระดับหมู่บ้าน ประชาชนที่มีรายได้น้อยจะต้องเสียค่าเดินทางจำนวนมากเพื่อเข้าเมืองไปติดต่อธนาคาร จึงเป็นอีกสาเหตุที่ประชาชนกลุ่มนี้ไม่ประสงค์จะใช้บริการธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดปัญหาหนี้นอกระบบและช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น รัฐบาลไทยจึงได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยถือเป็นสถาบันการเงินรายย่อย เพื่อให้เป็นแหล่งทุนสำหรับชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยโดยมีเงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อที่แตกต่างไปจากการพิจารณาให้สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ คือสถาบันการเงินรายย่อยมีจุดประสงค์ในการในการช่วยเหลือให้ผู้มีรายได้น้อย เข้าถึงสินเชื่อได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าท้องตลาด และลดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อให้เอื้อต่อวิถีชีวิตผู้มีรายได้น้อยไม่ว่าจะเป็น การไม่ขอเอกสารทางการเงินที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการไม่เรียกหลักประกัน เป็นต้น กองทุนหมู่บ้านของประเทศไทยยังขาดศักยภาพในการพิจารณาสินเชื่อและบริหารจัดการเมื่อเปรียบเทียบกับจากสถาบันการเงินต่างประเทศได้แก่องค์กรการเงินรายย่อยและธนาคารเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศบังกลาเทศ (Grameen Bank) และธนาคารรักยัตในประเทศอินโดนีเซีย (PT Bank Rakyat Indonesia Tbk) จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษาและวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบแล้ว กองทุนหมู่บ้านของประเทศไทยได้คะแนนการประเมินเพียงร้อยละ 45.81 % จากเกณฑ์การวัดคุณลักษณะของสถาบันการเงินรายย่อยที่ดี โดยมีข้อจำกัดประการสำคัญคือข้อจำกัดจากคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรของกองทุนหมู่บ้าน ด้วยเหตุนี้ จึงเสนอให้มีการแก้ไขด้วยการแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงเพิ่มเติมแนวทางปฏิบัติของกองทุน โดยรัฐควรจัดหาเงินทุนสนับสนุนให้ในระยะแรก เพื่อให้สามารถจ้างพนักงานได้ สถาบันการเงินรายย่อยที่ถูกบริหารโดยพนักงานมืออาชีพที่มีค่าตอบแทนชัดเจนหมู่บ้าน เพิ่มให้คณะกรรมการทำการรายงานผลดำเนินการกองทุนในทุกๆ ไตรมาส ไม่ใช่ปีละ 1 ครั้งเหมือนเก่า แต่เป็นปีละ 4 ครั้ง กองทุนหมู่บ้านควรจะแก้ปัญหาหนี้สูญด้วยการวางระบบการบริหารสินเชื่อให้รัดกุมมากขึ้น โดยสามารถเริ่มจากการนำการปล่อยกู้แบบกลุ่ม โดยอาจนำเอาตามแนวทางโมเดลของธนาคารกรามีนมาประยุกต์ใช้ ประยุกต์การปล่อยกู้แบบกลุ่มและใช้แรงกดดันทางสังคมเป็นหลักประกันทางเลือก แต่จะต้องทำแบบสอบถามในรูปแบบคล้ายคลึงกับที่ธนาคาร BRI ทำ ซึ่งเป็นแบบสอบถามความกลุ่มลูกค้าเป้าหมายธนาคารว่าต้องการให้สินเขื่อมีรูปแบบและเงื่อนไขอย่างไรบ้างถึงจะเหมาะสม และเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการผลักดันให้กองทุนหมู่บ้านอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง รัฐบาลไทยควรจะยกระดับกองทุนหมู่บ้านให้แปรสถานะเป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.