Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Second Advisor
อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.182
Abstract
จากรูปพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชาชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย หลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases – NCDs) ซึ่งเป็นโรคที่กินเวลานาน ก่อให้เกิดค่ารักษาในระยะยาว และเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตของคนไทยจำนวนมากในแต่ละปี ผู้ที่เปราะบางและด้อยโอกาสทางสังคมจะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบสูง ทำให้ผู้คนตกอยู่ในความยากจนทุกปีและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ การไม่ออกกำลังกายเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสียงต่อการเสียชีวิตจากโรค NCDs ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แม้ทุกคนจะตระหนักดีว่าการออกกำลังกายมีผลดีต่อสุขภาพ แต่คนจำนวนมากก็ยังละเลยการออกกำลังกายเพราะไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย ปัญหาสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือมีอุปสรรคที่ขัดขวางการออกกำลังกาย หลายประเทศทั่วโลกได้ร่วมกันจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Gold – SDGs) ซึ่งเป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยมีการผสานแนวคิดด้านสุขภาพและการออกกำลังกายไว้ในหลายมิติ ในส่วนเป้าหมายระดับชาติ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยในทุกมิติรวมทั้งมิติด้านการมีสุขภาวะที่ดีผ่านการออกกำลังกาย และมีการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการออกกำลังกายด้วยแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกระทรวงสาธารณะสุขเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย เนื่องจากรัฐสามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้คนออกกำลังกายได้ผ่านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและลดอุปสรรคในการออกกำลังกายของประชาชน เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำลังกายมากขึ้น แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมให้คนออกกำลังกาย จึงต้องทำการศึกษาแนวทางจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลกที่ระบบภาษีมีการบรรเทาภาระภาษีเหมือนกับประเทศไทยและได้ใช้นโยบายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการกีฬาและการออกกำลังกายมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551ผู้ศึกษามีความเห็นว่าประเทศไทยควรมีการกำหนดมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และจูงใจให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการออกกำลังกายทั้งในระดับประเทศและระดับความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชัยวิวัฒน์ตระกูล, กัญชลี, "มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13088.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13088