Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
มานิตย์ จุมปา
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.181
Abstract
การจัดการภาษีในประเทศไทยยังคงเผชิญกับความซับซ้อนของกฎหมายและกระบวนการยื่นแบบภาษี ซึ่งส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดและความเสี่ยงในการถูกลงโทษทางกฎหมาย ปัจจุบัน ระบบภาษีของไทยยังขาดมาตรการที่ส่งเสริมและควบคุมตัวแทนภาษีในระดับบุคคลที่ชัดเจน การพัฒนาระบบตัวแทนภาษีขึ้นทะเบียนจึงมีความสำคัญในการเพิ่มความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของระบบภาษี โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เสียภาษีต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการจัดการภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์มาตรการส่งเสริมการมีตัวแทนภาษีขึ้นทะเบียนในประเทศไทย โดยพิจารณาแนวคิดเกี่ยวกับการเพิ่มความน่าเชื่อถือของตัวแทนภาษี ศึกษามาตรการตัวแทนภาษีที่ใช้ในประเทศไทย เปรียบเทียบกับมาตรการตัวแทนภาษีในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นระบบขึ้นทะเบียนตัวแทนภาษี แบ่งเป็น 3 ประเภท (1) ตัวแทนที่ลงทะเบียน โดยผ่านการสอบหรือมีประสบการณ์การทำงานกับกรมสรรพากรตามกำหนด (2) ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต และ (3) ทนายความ มีสิทธิในการเป็นตัวแทนต่อหน้ากรมสรรพากรได้อย่างไม่จำกัด (Unlimited representation rights) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีที่มีคุณสมบัติเหล่านี้สามารถเป็นตัวแทนลูกค้าในเรื่องใดก็ได้ ตั้งแต่การยื่นแบบ การให้คำปรึกษา รวมทั้งการตรวจสอบ ปัญหาการชำระเงิน/การจัดเก็บ การอุทธรณ์ และการเป็นตัวแทนในศาล ผลการศึกษาพบว่าในประเทศไทยแม้ว่ากรมสรรพากรจะมีการกำหนดบทบาทของสำนักงานบัญชีตัวแทนที่ได้รับอนุญาตให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีในนามของผู้เสียภาษี แต่บทบาทดังกล่าวยังคงจำกัดอยู่ในรูปแบบองค์กร โดยไม่มีการรับรองตัวแทนภาษีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับบุคคลที่ครอบคลุมและเป็นมาตรฐาน การเพิ่มระบบการขึ้นทะเบียนตัวแทนภาษีสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ตัวแทนภาษี ช่วยลดข้อผิดพลาดในการยื่นแบบภาษี อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีเพื่อเป็นทางเลือกในการยื่นแบบผ่านตัวแทนภาษีขึ้นทะเบียน และสร้างความมั่นใจในกระบวนการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพบทสรุปจากการวิเคราะห์มาตรการส่งเสริมการมีตัวแทนภาษีขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ผู้เขียนเห็นว่า รัฐควรสนับสนุนออกประกาศคำสั่งกรมสรรพากรโดยอาศัยอำนาจตามความในประมวลรัษฎากร โดยเหตุที่การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้การควบคุมและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ตัวแทนภาษีขึ้นทะเบียนซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระ หรือดำเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตันตราชัย, รัสรินทร์, "มาตรการส่งเสริมการมีตัวแทนภาษีขึ้นทะเบียนในประเทศไทย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13087.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13087