Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.177

Abstract

ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายรูปแบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการจ้างงานในประเทศ รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ เช่น การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อการส่งออก โดยหวังว่าการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะเป็นแรงจูงใจสำคัญให้บริษัทข้ามชาติมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 20 สามารถยกเว้นหรือปรับลดอัตราภาษีสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อย่างไรก็ตามเมื่อพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป โดยการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มนั้นคำนึงถึงการคำนวณอัตราภาษีที่แท้จริงของกลุ่มบริษัท ดังนั้นการที่บริษัทได้รับการยกเว้นหรือปรับลดอัตราภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน จะส่งผลให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวไม่สามารถดึงดูดการลงทุนได้ตามที่คาดหวัง การเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากกว่า ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่ประเทศอื่นมีระบบภาษีที่เอื้อต่อการลงทุนมากกว่า การศึกษามาตรการของประเทศสิงคโปร์และแคนาดาพบว่า ทั้งสองประเทศได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม โดยเน้นการให้เครดิตภาษี (Qualified Refundable Tax Credits: QRTC) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ OECD ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์คืนเครดิตภาษีจากการลงทุน จากการลงทุนในกิจกรรมเศรษฐกิจมูลค่าสูง ส่วนประเทศแคนาดาให้เครดิตภาษีสำหรับเทคโนโลยีสะอาดและการวิจัยพัฒนา แนวทางนี้ช่วยส่งเสริมการลงทุน พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาอัตราภาษีที่แท้จริงไว้ ดังนั้นประเทศไทยควรพิจารณาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยนำแนวทางการให้เครดิตภาษีจากการลงทุนของประเทศสิงคโปร์และแคนาดามาใช้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการดึงดูดการลงทุนและยังคงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว ทั้งนี้การให้เครดิตภาษีจากการลงทุนจะไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีส่วนเพิ่ม แต่ยังส่งเสริมการลงทุนในกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนของประเทศด้วย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.