Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.174
Abstract
เอกัดศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดเวลาทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะของงานเพื่อความเป็นธรรมของบริษัทสอบบัญชีโดยหลักการกำหนดเวลาในการทำงาน ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างสามารถกำหนดเวลาในการทำงานภายใต้กรอบวิธีการกำหนดเวลาในการทำงาน 4 ประเภท ได้แก่ 1.งานทั่วไป 2. งานอันตราย 3. งานที่ไม่อาจกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงานได้และ 4. การทำงานจากที่บ้านหรือที่พำนัก และการทำงานทางไกล ซึ่งเกิดความไม่เหมาะสมในการกำหนดเวลาในการทำงานของบริษัทสอบบัญชี ที่มีลักษณะงานเฉพาะทางโดยแยกเป็นประเภทงานหลัก ๆ ได้แก่ : 1. งานตรวจสอบบัญชี (Audit): ต้องการความได้สัดส่วนระหว่างการทำงานตามเวลาเปิดปิดของกิจการ และการทำงานที่มีความยืดหยุ่นบางช่วงเวลา 2. งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ (Advisory) : ต้องการการทำงานแบบยืดหยุ่นสูง 3. งานสนับสนุนการดำเนินงานภายในองค์กร (Support Functions) : ต้องการทำงานตามเวลาเปิดปิดของกิจการ ผลกระทบจากเวลาในการทำงานไม่สอดรับกับการทำงานที่แท้จริง ในลักษณะของการจัดการเวลาที่ไม่เหมาะสมทำให้พนักงานประสบปัญหาความไม่สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน โดยหลักแบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ความไม่สมดุลชีวิตและการทำงาน การจัดการเวลาที่ไม่เหมาะสมทำให้ลูกจ้างต้องใช้เวลาในการทำงานที่มากกว่าปกติอันส่งผลต่อสุขภาพจิตและร่างกาย ประการที่ 2 ความปลอดภัยชีวิตอนามัย ความเครียดสะสมและโรคแทรกซ้อนจากการทำงาน หมดไฟในการทำงาน ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและชีวิตอนามัยที่เพิ่มขึ้นจากการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือการทำงานหนักเกินไป ประการที่ 3 ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพิ่มข้อผิดพลาด และสร้างความไม่พึงพอใจในงานของพนักงาน ส่งผลต่อคุณภาพของงานและอัตราการลาออกอีกประการหนึ่งจากผลการศึกษาพบว่าในต่างประเทศ แม้ว่ามีการกำหนดเวลาการทำงานในรูปแบบกฎหมายแรงงานแล้ว แต่ยังคงออกแนวปฏิบัติเพื่อให้การทำงานของลูกจ้างสอดคล้องกับการทำงานรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการจัดการทำงานแบบยืดหยุ่นทั้งในด้านสถานที่ และเวลา เพื่อให้ลูกจ้างเกิดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และประโยชน์ทางอ้อมต่อนายจ้างในการประหยัดต้นทุนในการบริหารทรัพยากรบุคคล และในประเทศสิงค์โปร์มีการกำหนดหลักการเฉพาะ โดยกำหนดให้กลุ่มพนักงานจะต้องตกลงเวลาในการทำงานหลัก “Core hours" เพื่อให้การเลือกเวลาของพนักงานได้มีช่วงเวลาในการทำงานพร้อมกัน และเพื่อเป็นคู่มือในการสนับสนุนให้เอกชนจัดทำแนวปฏิบัติในการกำหนดเวลาในการทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของลูกจ้างอย่างราบรื่น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นิลวาศ, ศิริพล, "แนวทางในการกำหนดเวลาทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะของงานเพื่อความเป็นธรรม :กรณีศึกษาบริษัทสอบบัญชี" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13080.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13080