Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

ชนิสา งามอภิชน

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.172

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำดอกเบี้ยจากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย โดยเล็งเห็นถึงข้อจำกัดในปัจจุบันที่สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยอนุญาตเฉพาะดอกเบี้ยจากเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายในต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการออกแบบมาตรการสนับสนุนผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในรูปแบบสิทธิประโยชน์ทางภาษี สหรัฐอเมริกามีมาตรการ "Student Loan Interest Deduction" ซึ่งอนุญาตให้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษามาหักลดหย่อนจากรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้สูงสุด 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยจำนวนเงินลดหย่อนขึ้นอยู่กับรายได้รวมที่ปรับปรุงแล้ว (MAGI) ระบบนี้เหมาะสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง เนื่องจากสิทธิประโยชน์จะเพิ่มขึ้นตามฐานภาษีของผู้เสียภาษี แต่ข้อเสียคือผู้ที่มีรายได้ต่ำอาจไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่ ในทางกลับกัน แคนาดาใช้มาตรการ "Canada Student Loan Interest Deduction" ซึ่งคำนวณเครดิตภาษีที่ 15% ของดอกเบี้ยเงินกู้ที่ชำระในปีภาษีนั้น และอนุญาตให้ยกยอดเครดิตไปใช้ในปีถัดไปได้สูงสุด 5 ปี ระบบนี้ให้ประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มรายได้ เนื่องจากการคำนวณเครดิตภาษีไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของผู้เสียภาษี แต่เป็นอัตราคงที่ตามจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระจริง นอกจากนี้ การอนุญาตให้ยกยอดเครดิตช่วยให้ผู้กู้รายได้ต่ำได้รับสิทธิประโยชน์เต็มจำนวนในอนาคตเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจากการศึกษาแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผู้เขียนเห็นควรว่าแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในประเทศไทย คือแนวทางการให้เครดิตภาษี (Tax Credit) ตามแบบของประเทศแคนาดา แนวทางนี้ช่วยสร้างความเท่าเทียมสำหรับทุกกลุ่มรายได้ เพราะการคำนวณเครดิตภาษีไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานภาษีเหมือนระบบลดหย่อนรายได้แบบสหรัฐอเมริกา แต่เป็นอัตราคงที่ตามดอกเบี้ยที่ชำระจริง เช่น 5% ของดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับผู้ที่มีรายได้สูงกว่า ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการลดภาระทางการเงินและช่วยกลุ่มผู้กู้ในทุกระดับรายได้ได้อย่างทั่วถึง อีกหนึ่งข้อดีที่คือการอนุญาตให้ยกยอดเครดิตภาษีที่ไม่ได้ใช้ในปีนั้นไปเครดิตภาษีในปีถัดไปได้สูงสุดถึง 5 ปี นโยบายนี้เหมาะสมอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้กู้ที่อาจเริ่มต้นมีรายได้ต่ำหลังสำเร็จการศึกษา เช่น นักศึกษาที่เพิ่งเริ่มต้นอาชีพ หรือกลุ่มที่ยังไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้สิทธิ์ได้เต็มจำนวนในช่วงแรกของการชำระหนี้ การยกยอดนี้ช่วยให้พวกเขาสามารถได้รับประโยชน์ทางภาษีอย่างครบถ้วนในอนาคตเมื่อมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.