Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.171

Abstract

ค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากรสำหรับผู้ที่ให้ความอุปการะแก่ผู้อื่น จำกัดอยู่เพียง กรณีลดหย่อนค่าดูแลบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม บิดามารดา ผู้พิการ และผู้ทุพพล ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันการอุปการะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ความสัมพันธ์เท่าที่กล่าวมา เช่น พี่ที่ต้องเลี้ยงดูน้อง หรือกรณีที่ลุงต้องเป็นผู้เลี้ยงหลาน ซึ่งการอุปการะก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นเนื่องจากต้องดูแลทั้งด้านที่อยู่อาศัย ด้านบริการสุขภาพ ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่น เช่นเดียวกับกรณีที่มีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรม หรือความสัมพันธ์อื่น เมื่อศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ากรณีที่ให้การอุปการะแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนดก็สามารถใช้เครดิตภาษีสำหรับเด็ก (Child Tax Credit) เพื่อลดภาระภาษีลงได้ โดยรัฐให้เครดิตภาษีสูงสุด 2,000 ดอลลาร์ต่อคน โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้การอุปการะและบุคคลผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีในความอุปการะมิได้จำอยู่เพียงต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม แต่หมายรวมไปถึงหลาน พี่ หรือน้องด้วย เมื่อพิจารณามาตรการลดหย่อนภาษีปัจจุบันของไทยกับมาตรการเครดิตภาษีสำหรับเด็ก (Child Tax Credit) ของอเมริกา ประกอบกับหลักภาษีอากรที่ดีของอดัม สมิธ จึงเห็นควรว่ารัฐควรพิจารณาเพิ่มมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้ที่มิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม หรือบิดามารดา แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่ไดใช้ระบบเครดิตเช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาจึงต้องเป็นมาตราการบรรเทาภาระในรูปแบบการลดหย่อนภาษี

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.