Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
คนึงนิจ ขาวแสง
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.170
Abstract
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยส่งเสริมยอดขายของสินค้าในอุตสาหกรรมนี้คือการโฆษณาเครื่องสำอางผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรับรู้ กระตุ้นความสนใจ และดึงดูดผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การที่กฎหมายในประเทศไทยไม่ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตก่อนการโฆษณา และใช้เพียงคู่มือเพื่อให้ผู้ประกอบการตีความด้วยตนเอง สามารถนำไปสู่การตีความที่ผิดพลาดและการโฆษณาที่ผิดหลักกฎหมาย เช่น การโฆษณาเกินจริงหรือการใช้ข้อความที่บิดเบือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและลดความน่าเชื่อถือของตลาดสินค้าเครื่องสำอางงานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาเครื่องสำอางระหว่างประเทศไทย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อค้นหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งานศึกษายังอธิบายแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการคุ้มครองผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส และไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทยที่ปัจจุบันยังไม่มีการบังคับให้ตรวจสอบข้อความโฆษณาก่อนการเผยแพร่ ซึ่งอาจนำไปสู่การโฆษณาที่ไม่เหมาะสมและสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค โดยผลการเปรียบเทียบกับกฎหมายของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้พบว่าทั้งสองประเทศมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวด เช่น การจัดประเภท "ผลิตภัณฑ์กึ่งยา (Quasi-Drugs)" ในญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และการกำหนดบทลงโทษชัดเจนในเกาหลีใต้ ซึ่งช่วยลดปัญหาการโฆษณาเกินจริงและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคข้อเสนอแนะสำคัญจากการศึกษานี้ คือการกำหนดให้มีการตรวจสอบข้อความโฆษณาในประเทศไทยเครื่องสำอางบางประเภทก่อนการเผยแพร่ รวมถึงการแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์เพื่อกำกับดูแลในลักษณะเดียวกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ พร้อมทั้งเพิ่มบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับการโฆษณาที่ละเมิดกฎหมายผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงกฎหมายควบคุมการโฆษณาเครื่องสำอางในประเทศไทย จะช่วยลดปัญหาการโฆษณาเกินจริง ยกระดับความปลอดภัยของผู้บริโภค และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดสินค้าเครื่องสำอางไทย รวมถึงสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในระดับสากลอย่างยั่งยืน
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปรมสกุล, ศรสวรรค์, "แนวทางในการปรับปรุงการควบคุมโฆษณาเครื่องสำอางกึ่งยาในประเทศไทย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13076.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13076