Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.169
Abstract
ประเทศไทยมีการใช้ระบบอัตราอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ด้วยระบบอัตราเดียวที่ร้อยละ 1 ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงหลักความสามารถในการเสียภาษีของผู้เสียภาษี ที่ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าควรจะต้องรับภาระภาษีในสัดส่วนที่มากกว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า เป็นผลให้มีรายได้การจัดเก็บอากรแสตมป์ในสัดส่วนที่ต่ำ อีกทั้งยังมีปัญหาการเข้ามาของทุนต่างชาติที่อาศัยช่องว่างของกฎหมายไทย ทำการกว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์และปล่อยเช่าให้กับคนในชาติเดียวกัน ทำให้เกิดทุนหมุนเวียนอยู่แค่ในกลุ่มชาวต่างชาติ ส่งผลให้รัฐบาลไทยไม่สามารถหารายได้จากกลุ่มทุนนี้ได้อย่างที่ควร และเป็นการปล่อยให้กลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาใช้ทรัพยากรในประเทศไทยอยู่เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังมีแนวนโยบายในการขยายระยะเวลาการเช่าอสังหาริมทรัพย์จาก 50 ปี เป็น 99 ปี เพื่อรองรับการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติโดยที่ไม่มีมาตรการทางภาษีในการรองรับแนวนโยบายที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงอย่างเพียงพอ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ขาวต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในประเทศไทย โดยที่ประชาชนชาวไทยไม่ได้รับผลประโยชน์เท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการจัดเก็บและอัตราอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศอังกฤษ และประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งมีกฎหมายภาษีที่เข้มแข็ง มีสัดส่วนการจัดเก็บอากรแสตมป์ต่อรายได้ภาษีที่สูงกว่าประเทศไทย และมีอัตราอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบอัตราก้าวหน้า จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรนำหลักการคิดอัตราอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไอร์แลนด์มาผนวกกับหลักการในการเก็บค่าธรรมเนียม SDLT เพิ่มเติมของประเทศอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติที่มาเช่าเพื่ออยู่อาศัย เนื่องด้วยอัตราอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไอร์แลนด์ ได้แบ่งช่วงบันไดค่าอากรตามระยะเวลาการเช่าอยู่ที่ 35 ปี และ 100 ปี ตามลำดับ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นมาตรการทางภาษีที่มีความสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขยายเวลาการเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลา 99 ปี และเป็นการเก็บอากรแสตมป์ด้วยอัตราก้าวหน้าที่มีความสอดคล้องกับหลักความสามารถของผู้เสียภาษี ประกอบกับการคิดค่าธรรมเนียมอากรแสตมป์เพิ่มเติมสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยในไทย เป็นการหารายได้เพิ่มเติมจากการมาอยู่อาศัยของชาวต่างชาติ ไม่ให้เกิดการหมุนเวียนของทุนต่างชาติเพียงฝ่ายเดียวโดยที่รัฐบาลไทยไม่ได้ประโยชน์ในส่วนนี้ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลรวมถึงเพิ่มสัดส่วนการจัดเก็บอากรแสตมป์
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงศ์วัชรไพบูลย์, วิชชา, "แนวทางแก้ไขปรับปรุงอัตราอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13075.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13075