Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
คนึงนิจ ขาวแสง
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.168
Abstract
การแข่งขันทางธุรกิจในไทยมีความรุนแรงขึ้นมากในยุคปัจจุบันสืบเนื่องจากการมีช่องทางการขายสินค้าที่หลากหลายขึ้น และการค้าที่เปิดกว้างอย่างเสรีทั้งออฟไลน์และออนไลน์ กล่าวได้ว่าการค้าแบบปัจจุบันเป็นการค้าแบบไม่มีพรมแดนไปแล้ว การค้าเช่นนี้มีส่วนในการเปิดช่องให้สินค้าจีนราคาถูกไหลเข้ามาประเทศไทยอย่างล้นหลามและแย่งตลาดของผู้ประกอบการไทยด้วยการสร้างสมรภูมิด้านราคา เมื่อการแข่งขันสูงขึ้นทั้งในด้านต้นทุนการผลิตและราคาขาย อุตสาหกรรมภายในประเทศไทยโดยเฉพาะกลุ่มSMEsจึงมีการชะลอตัวลงทำให้แรงงานส่วนหนึ่งมีความเสี่ยงที่จะตกงาน แม้จะมีการออกนโยบายป้องกันเบื้องต้นแล้วก็ตาม แต่ทางปฏิบัติยังไม่รวดเร็วและเพียงพอต่อการสะกัดสินค้าจีนที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องการตลาดแบบเชิงรุกของสินค้าจีนเกิดจากการที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลจีนจึงออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศโดยการสนับสนุนเทคโนโลยีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้ทันสมัย และเน้นการผลิตสินค้าจำนวนมากในราคาที่ต่ำเพื่อส่งออกไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว เมื่อสินค้ามีมากเกินความต้องการทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินที่จีนนำเอามาเป็นอาวุธในการทุ่มราคา ประเทศไทยจึงประสบสถานการณ์การขาดดุลการค้ากับจีนที่ย่ำแย่ลง แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำนนต่อสินค้าที่เข้ามาจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจีนมีทั้งความหลากหลายของสินค้า และราคาที่ถูกปัญหาสำคัญคือที่ผ่านมาคือรัฐบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการปกป้องผู้ประกอบการไทย ทำให้สินค้าจีนทะลักเข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นวิกฤติที่ส่งกระทบเป็นวงกว้าง ขณะที่ในต่างประเทศได้ออกมาตรการป้องกันหลายรูปแบบเพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม ประเทศไทยจึงควรหาวิธีจัดการปัญหาสินค้านำเข้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นให้รัดกุมและรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ และมีการจัดระเบียบการเข้ามาของนักลงทุนจีนในช่องทางต่างๆให้อยู่ในกรอบของกฎหมายไทย รวมถึงใช้มาตรการควบคุมรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมหากพบว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวกับสินค้านำเข้า หน่วยงานรัฐบาลอย่างกองปกป้องและตอบโต้ทางการค้าภายใต้กรมการค้าต่างประเทศย่อมมีข้อมูลที่ละเอียดและสามารถตัดสินใจได้แม่นยำกว่าเอกชน จึงควรมีการเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด และเน้นการปฏิบัติเชิงรุกมากขึ้นเพื่อลดภาระของผู้ประกอบการในการยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้านำเข้า และสามารถคัดกรองปัญหาได้อย่างทันท่วงที
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปิยะตรึงส์, วศินี, "มาตรการควบคุมสินค้านำเข้าจากประเทศจีนเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไทย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13074.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13074