Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.167

Abstract

ปัจจุบันกฎหมายที่ประเทศไทยนำมาบังคับใช้ควบคุมโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการที่ เกี่ยวข้องกับเครื่องรางของขลังอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ กำหนดขอบเขตลักษณะของข้อความโฆษณาของสินค้าเป็นการทั่วไปไม่ได้บัญญัติเฉพาะเจาะจงถึงลักษณะ ข้อความโฆษณาของสินค้าและบริการที่เป็นเครื่องรางของขลัง ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการบังคับใช้กฎหมายชี้ชัดความผิดจากการใช้ข้อความโฆษณาที่เป็นเท็จหรือเกินจริงหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้าหรือบริการที่เป็นเครื่องรางของขลังที่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องจากผู้ประกอบธุรกิจเครื่องรางของขลังตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าหรือไม่ทันการณ์ในการบังคับเอาผิดดำเนินคดี จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศโดยเลือกศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายโฆษณาเครื่องรางของขลัง 3 ประเด็น ได้แก่ 1. กฎหมายที่ใช้บังคับควบคุม 2. ขอบเขตของลักษณะข้อความโฆษณาที่กฎหมายบัญญัติให้ควบคุม และ 3. กลไกการกำกับดูแลกันเอง พบว่ารูปแบบกฎหมายว่าด้วยการโฆษณาของประเทศจีน ประมวลวิธีปฏิบัติว่าด้วยการโฆษณาจากการกำกับดูแลกันเองของภาคเอกชนในประเทศสิงคโปร์ และกฎหมายต่อต้านไสยศาสตร์ในรัฐมหาราษฏระของประเทศอินเดียได้กำหนดขอบเขตลักษณะของข้อความที่โฆษณาสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์เป็นการเฉพาะที่ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการโฆษณาสามารถชี้ชัดความผิดของการใช้ข้อความเนื้อหาโฆษณาที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการเครื่องรางของขลังได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ แต่ลักษณะ การบังคับใช้ผ่านกฎหมายโฆษณาโดยตรงแบบจีน ผ่านกฎหมายต่อต้านไสยศาสตร์แบบอินเดีย หรือผ่านกลไกการกำกับดูแลกันเองแบบสิงคโปร์ ไม่เหมาะกับบริบทของประเทศไทยเนื่องจากสังคมวัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่างกัน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคควรกำหนดขอบเขตของลักษณะข้อความโฆษณาที่กฎหมายบัญญัติให้ควบคุมเป็นการเฉพาะเจาะจงถึงขอบเขตทั้งหมดที่เกี่ยวกับข้อความแสดงถึงความเหนือธรรมชาติของเครื่องรางของขลังในบทบัญญัติผ่านกฎกระทรวงที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 22 (5) ให้เป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมส่วนรวมที่สามารถบังคับใช้กฎหมายเอาผิดดำเนินคดีโดยทันที นอกจากนี้ภาครัฐควรส่งเสริมกลไกการกำกับดูแลกันเองที่เกี่ยวกับโฆษณาของภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐแบบ Co-Regulation ด้วย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.