Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.166
Abstract
ปัจจุบันกฎหมายภาษีอากรของผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประเภท 40(1) หรือเงินได้จากการทำงานประจำอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาที่ 50% และต้องไม่เกิน 100,000 บาท การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้บุคคลธรรมดาประเภท 40(1) นั้นจำกัดและอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าเงินได้ประเภทอื่น อีกทั้งการจำกัดด้วยอัตราเหมาและเพดานการหักค่าใช้จ่ายทำให้ไม่สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหรือวิถีการทำงานที่เปลี่ยนไป เพราะการอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 2560 ทำให้การหักค่าใช้จ่ายของพนักงานที่มีเงินเดือนประจำนั้นยังขาดความเป็นธรรม ไม่ยึดหยุ่นตามสภาพเศรษฐกิจ อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับหลักการของค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดเงินได้ ทำให้ไม่สอดคล้องหลักของการจัดเก็บอากรที่ดีอย่างไรก็ตาม การอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายตามกฎหมายไทยนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์และอังกฤษ การอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายของทั้งสองประเทศยึดหลักของการหักค่าใช้จ่ายตามจริง โดยอยู่บนหลักการของการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานโดยไม่สามารถเบิกคืนได้หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากนายจ้าง โดยอนุญาตให้หักค่าใช้ตามจริงโดยสะท้อนสภาวะของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเป็นธรรมและยืดหยุ่น การศึกษาการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานโดยการอนุญาตให้หักตามจริงของประเทศสิงคโปร์และอังกฤษจะสามารถช่วยให้เสนอแนะแนวทางการหักค่าใช้จ่ายของพนักงานประจำได้ โดยสามารถให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งตามจริงหรือกำหนดอัตราล่วงหน้าสำหรับบางรายการที่ต้องใช้การคิดคำนวณ เช่น ค่าทำงานจากที่บ้าน ค่าเดินทาง เป็นต้น การหักค่าใช้จ่ายนั้นจะต้องอยู่บนหลักการของการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานโดยไม่สามารถเบิกคืนได้หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากนายจ้าง หากได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากนายจ้าง เฉพาะส่วนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจะสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ อีกทั้งการหักค่าใช้จ่ายต้องเป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงซึ่งถูกกำหนดโดยนายจ้างไม่ใช่ลักษณะของค่าใช้จ่ายทั่วไปที่สามารถหักจากค่าลดหย่อนส่วนตัว หากเป็นทรัพย์สินถาวรหรือส่วนตัวประเภทยานพาหนะ เช่น รถยนต์ ไม่อนุญาตให้หักเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนทรัพย์สินอื่นขึ้นกับกฎหมายกำหนด นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายนั้นไม่ควรเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท โดยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจ้างงานต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ของพนักงานเท่านั้น การอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายตามจริงของประเทศสิงคโปร์และอังกฤษจะสามารถช่วยให้เสนอแนะแนวทาง การนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากนายจ้างหรือไม่สามารถเบิกคืนได้มาหักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภท 40(1) โดยสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานที่แท้จริงตามเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป แทนการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 50 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ตามหลักภาษีอากรที่ดีได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จักราบาท, เรณุกา, "แนวทางการนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากนายจ้างหรือไม่สามารถเบิกคืนได้มาหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภท 40(1) สำหรับพนักงานประจำ" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13072.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13072