Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.165

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดหย่อนภาษี กรณีนำค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพของบุตร อายุไม่เกิน20ปี และยังไม่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ โดยศึกษาในขอบเขตของหลักกฎหมาย เงื่อนไข หลักเกณฑ์ และผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าลดหย่อนบุตร โดยไม่พิจารณาบุตรในกรณีเป็นบุตรบุญธรรม เป็นบุคคลไร้ความสามารถ และ ทุพพลภาพ และใช้วิธีการศึกษาในกรอบของการวิจัยเชิงเอกสาร ที่มุ่งศึกษาจากปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน และรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าเชิงเอกสารเป็นหลัก ทั้งนี้จากการศึกษา พบว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตราการให้นำเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพของบุตรมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ มาตราการทางภาษีมีความไม่เสมอภาคกับกรณีของค่าอุปการะบิดามารดาและค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา การที่มาตราการทางภาษี กรณีค่าลดหย่อนบุตรยังไม่สามารถบรรเทาภาระทางการเงินของหน่วยครัวเรือนสะท้อนออกมาเป็นผลลัพธ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับแนวโน้มมีอัตราการเกิดที่ลดลง และโครงสร้างของหน่วยครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ เปลี่ยนจากครัวเรือนขยาย มาเป็นครัวเรือนที่เล็กลง เฉลี่ยมีสมาชิกที่เป็นวัยทำงานหนึ่งคน ที่ต้องมีภาระเลี้ยงดูวัยพึ่งพิง(บิดามารดา และ บุตร)ถึง 2 คน แม้ว่าในการดูแลบุตร จะมี ประกันสังคม, สวัสดิการข้าราชการ หรือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพจากรัฐแล้ว แต่บิดามารดาก็ยังจำเป็นต้องเลือกซื้อ ประกันสุขภาพส่วนตัว ให้กับบุตรเพื่อเป็นการป้องกันภาระทางการเงินส่วนเกินจากค่ารักษาพยาบาล เพราะ การรักษาโรคร้ายแรงบางอย่าง ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์เบิกไม่ได้ ยาราคาแพงที่มีคุณภาพ จัดเป็นยานอกบัญชี และค่าห้องพิเศษ ห้อง ICU ในโรงพยาบาลเอกชน ก็เป็นส่วนที่ไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองด้านสุขภาพจากรัฐ ในอีกด้านหนึ่ง บิดามารดาที่ต้องมีภาระการดูแลบุตร หากบุตรป่วยแล้วต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อาจต้องลางานหรือหยุดงานเพื่อมาดูแล ทำให้ขาดรายได้ในช่วงระหว่างการรักษาตัวของบุตรไป การทำประกันสุขภาพส่วนตัวของบุตร จึงเป็นการได้รับความคุ้มครองรายได้ระหว่างรักษาตัว เพราะ แม้ระบบของรัฐ (เช่น ประกันสังคม) จะมีการจ่ายเงินชดเชยกรณีลาป่วย แต่ไม่เพียงพอสำหรับรายได้ที่ขาดไป กล่าวคือ ตามเงื่อนไขของการมีสิทธิได้รับค่าชดเชยการขาดรายได้ จะได้รับการชดเชยเพียงแค่ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ยิ่งไปกว่านั้น ระบบสวัสดิการของรัฐมีวงเงินจำกัด ในกรณีของการรักษาโรคร้ายแรงหรือการผ่าตัดจะมีส่วนเกินที่เกิดขึ้นมาก การทำประกันสุขภาพของบุตร ก็เพื่อเพิ่มวงเงินความคุ้มครอง อันเป็นการลดภาระทางการเงินของหน่วยครัวเรือนและเป็นการทำให้ครัวเรือนมีความมั่นคงของรายได้ และ ระบบทั้ง 3 ดังกล่าว ยังมี แนวคิดและการบริหารจัดการ ที่มีความแตกต่างกัน ขาดความเป็นองค์รวม ก่อให้เกิดต้นทุนในการบริหารสูง เกิดความซ้ำซ้อนในการกำกับควบคุมการตรวจสอบทางด้านการเงิน การตรวจสอบคุณภาพในการรักษาพยาบาล และการคำนวณต้นทุนในการรักษาพยาบาล ดังนั้น ประเทศไทย ควรมีการกำหนดมาตราการทางภาษีให้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพของบุตรที่อายุไม่เกิน 20 ปี และยังไม่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี มาใช้ลดหย่อนได้ รวมไปถึง ต้องสร้างนโยบายการบวกเพิ่มภาษี จากรายได้ของครัวเรือนที่มีรายได้ที่สูงกว่าเกณฑ์และไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพ เพื่อเป็นค่าใช้บริการระบบสุขภาพของรัฐบาล และเพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ คือ เป็นการนำเงินจากครัวเรือนที่มีรายได้สูงมากระจายให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.