Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.158

Abstract

พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนากระบวนการลงโทษความผิดที่ไม่ร้ายแรง โดยเปลี่ยนจากโทษปรับทางอาญาที่มีความยุ่งยากและใช้เวลานาน มาเป็นการปรับเป็นพินัยซึ่งมีความยืดหยุ่นและลดผลกระทบต่อผู้กระทำผิด โดยมาตรการนี้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการกำกับดูแลนิติบุคคล อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณากฎหมายภาษีอากรพบว่า ค่าปรับที่เป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งระบุว่าเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา เป็นรายจ่ายต้องห้าม แต่ค่าปรับเป็นพินัยกลับไม่ถูกจัดอยู่ในหมวดนี้ นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 40/2560 ยังได้ตีความให้รายจ่ายต้องห้ามที่เป็นค่าปรับบังคับใช้เฉพาะกับการกระทำผิดตามกฎหมายภาษีอากร ส่งผลให้ค่าปรับที่เกิดจากการกระทำผิดกฎหมายอื่นสามารถบันทึกเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งมีผลทำให้กำไรสุทธิของนิติบุคคลลดลงและภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงตามไปด้วย ความไม่ชัดเจนของกฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ความเป็นธรรม โดยทำให้นิติบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้รับประโยชน์จากการเสียภาษีที่น้อยกว่านิติบุคคลที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นการบั่นทอนความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและส่งเสริมพฤติกรรมละเมิดกฎหมายโดยอ้อม นอกจากนี้ความไม่ชัดเจนของประมวลรัษฎากรและคำวินิจฉัยยังสร้างความไม่แน่นอนในทางปฏิบัติและสร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้กฎหมายและผู้เสียภาษีเมื่อศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดค่าปรับเป็นพินัยเป็นรายจ่ายต้องห้ามของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส พบว่าตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้มีความสอดคล้องกัน มีแนวปฏิบัติให้ค่าปรับเป็นพินัยที่เกิดจากการละเมิดกฎหมายเป็นรายจ่ายต้องห้าม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้กระทำผิดได้รับผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งสอดคล้องกับหลักความเป็นธรรมและความแน่นอนตามหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีดังนั้นหากประเทศไทยมีการปรับปรุงแก้ไขมาตรา 65 ตรี (6) ของประมวลรัษฎากรให้รายจ่ายต้องห้ามครอบคลุมถึงค่าปรับเป็นพินัยและค่าปรับตามกฎหมายทุกประเภท จะสร้างความชัดเจนและไม่เป็นการเปิดช่องให้เกิดการตีความที่ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของการลงโทษทางกฎหมาย การแก้ไขดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย ลดการกระทำผิดซ้ำ สร้างความเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไทย และสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีอากร ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ผู้เสียภาษีทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.