Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.157
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของแถมจากการซื้อสินค้า และศึกษาสภาพปัญหาของประเทศไทยเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายในกรณีของแถมจากการซื้อสินค้า เพื่อนำมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศที่มีความชัดเจนและได้ให้การคุ้มครองแก่ผู้บริโภคไว้เป็นอย่างดีแล้ว มาปรับใช้และเสนอแนะมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของแถมจากการซื้อสินค้าให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ในปัจจุบัน ภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแสวงหาผลกำไรและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด โดย“ของแถม"เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและสร้างแรงจูงใจในการซื้อสินค้า ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของแถมจากการซื้อสินค้าไว้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้ของแถมเพื่อเป็นการดึงดูดผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจผิดพลาดโดยเลือกซื้อสินค้าจากการให้ของแถมในลักษณะดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ในต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนี และประเทศสิงคโปร์ มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของแถม โดยห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มราคาหรือเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสินค้าเพื่อชดเชยต้นทุนของแถม ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมให้มีความชัดเจนและครอบคลุมถึงกรณีการกำหนดมูลค่าของแถมจากการซื้อสินค้า ที่ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำต้นทุนของแถมมารวมไว้ในราคาสินค้าที่ขาย รวมถึงการกำหนดแนวทางการตีความและการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ ส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ รวมถึงลดการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จักรพันธุ์, ปารณัท, "มาตราการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของแถมจากการซื้อสินค้า" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13063.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13063