Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.154
Abstract
ปัจจุบันสุขภาวะจิตใจเป็นประเด็นสำคัญในแผนสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) รวมทั้งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ก็ได้ให้ความสำคัญกับการดูแล ป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสุขภาพจิตในที่ทำงาน แน่นอนว่าการมีสมดุลระหว่างสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งนี้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ได้ให้คำจำกัดความที่ครอบคลุมถึงอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และจิตใจจากการทำงาน โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักในการป้องกันเหตุอันตรายจากการทำงาน สถานที่ปฏิบัติงาน และบริบทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากหลักเกณฑ์และกรอบปฏิบัติของกฎหมายในการกำกับดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัยด้านสุขภาพร่างกายแล้ว การระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนในการกำกับดูแลสุขภาพจิตใจก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อเป็นการบังคับใช้และนำข้อกำหนดทางกฎหมายไปปฏิบัติให้เกิดความเป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ เอกัตศึกษาฉบับนี้ มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมด้านสุขภาวะทางอารมณ์และจิตใจ สำหรับผู้ปฏิบัติงานบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม ซึ่งการทำงานบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมกลางทะเลนั้น มีลักษณะและบริบทเฉพาะที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเผชิญต่างไปจากงานประเภทอื่น คือ การทำงานท่ามกลางความโดดเดี่ยวอ้างว้างกลางทะเล การแยกจากสังคม มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดความเสี่ยง อันส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทางอารมณ์และจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน การกำกับดูแลสุขภาวะจิตใจของพนักงานจึงมีความสำคัญและควรมีแนวทางการส่งเสริมมาตรการที่ชัดเจนโดยระบุรายละเอียดของกฎข้อบังคับให้ครอบคลุมถึงส่วนของการประเมินและดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน ทั้งนี้ ผลกระทบจากปัญหาด้านสุขภาวะทางอารมณ์และจิตใจ อาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟ ความเครียดสะสม จิตตก หรือภาวะซึมเศร้า ซึ่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน ตัวบุคคล และคนรอบข้างได้ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอให้มีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจประเมินสุขภาวะจิตใจสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง ลงในแบบสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้าง ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการบันทึกผลการตรวจสุขภาพทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพทางการแพทย์ และนายจ้างควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมเกี่ยวกับการป้องกันดูแล และพื้นฟูสุขภาวะจิตใจของลูกจ้าง รวมทั้งสวัสดิการที่ช่วยเติมเต็มความรู้สึกของการต้องถูกปลีกแยกออกมาขณะต้องปฏิบัติงาน โดยข้อเสนอแนะเหล่านี้จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพจิตที่ยั่งยืนสำหรับผู้ปฏิบัติงานบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมมากยิ่งขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มะตัง, บัศรีย์, "แนวทางการส่งเสริมอาชีวอนามัยด้านสุขภาวะทางอารมณ์และจิตใจ สำหรับผู้ปฏิบัติงานบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13060.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13060