Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.153
Abstract
ปัจจุบันพื้นที่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติมีจำนวนลดลง การอนุรักษ์พื้นที่เหล่านี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้เรามีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนในอนาคต ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศและทำหน้าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญสำหรับสัตว์ป่าและพืชพันธุ์หลากหลายชนิด ภาครัฐจึงมีการจัดทำโครงการต่าง ๆ ด้านการอนุรักษ์ โดยให้ภาคเอกชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ เช่น การบริจาคให้กับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ อีกทั้งการบริจาคให้กับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ยังสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่ภาครัฐประกาศออกมาได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดที่ระบุว่าบุคคลธรรมดาจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเพื่อการอนุรักษ์ มีเพียงนิติบุคคลเท่านั้นที่สามารถบริจาคและสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ การไม่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจึงอาจส่งผลทำให้ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขาดความเท่าเทียมในการให้สิทธิประโยชน์ระหว่างภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และทำให้การพึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ต้องใช้การลงทุนและต้นทุนที่ค่อนข้างสูง จากการศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บุคคลธรรมดากรณีบริจาคทรัพย์สินเพื่อการอนุรักษ์ โดยสามารถนำมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคไปใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากรัฐบาลกลาง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากรัฐถิ่นที่อยู่ โดยสิทธิประโยชน์ของรัฐบาลกลางเป็นการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ที่สามารถยกยอดไปใช้สูงสุด 15 ปี หรือจนกว่าจะถึงมูลค่าของเงินบริจาค และในส่วนของรัฐถิ่นที่อยู่จะเป็นการให้เครดิตภาษีที่สามารถยกยอดไปใช้ในปีถัด ๆ ไปได้ พบว่ามีแนวทางในการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย แต่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยด้วย โดยการนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามรูปแบบของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้ในประเทศไทยอาจต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในด้านของผู้เสียภาษีว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เหมาะสมหรือไม่ และต่อภาครัฐที่จะต้องไม่สูญเสียรายได้ภาษีมากเกินควรจากการนำมาตรการมาปรับใช้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศรีเชิดชู, บัณฑิตา, "สิทธิประโยชน์ทางภาษีของบุคคลธรรมดาจากการบริจาคเพื่อการอนุรักษ์" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13059.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13059