Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.152
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อทราบถึงความเป็นมาและสถานการณ์ในปัจจุบันของการคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างจะยุติการสื่อสารนอกเวลางานจากนายจ้างในประเทศไทย เพื่อทราบถึงขอบเขตของกฎหมายและแนวทางสากลเกี่ยวกับสิทธิที่ลูกจ้างจะยุติการสื่อสารนอกเวลางานกับนายจ้าง และเพื่อทราบแนวทางที่เหมาะสมในการปรับใช้สิทธิที่ลูกจ้างจะยุติการสื่อสารนอกเวลางานกับนายจ้างในกฎหมายไทย เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา(โควิด 19) ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวัน และการขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจผ่านเทคโนโลยีออนไลน์เพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้การปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานร่วมกับการดำเนินการบริหารธุรกิจ รัฐบาลไทยได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับ 8) พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นการเพิ่มกฎหมายมาตรา 23/1 ที่เกี่ยวข้องกับการที่นายจ้างให้ลูกจ้างหรือพนักงานสามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงาน มาตรา 23/1 ที่เพิ่มมานี้ในวรรค 3 ได้กล่าวถึงสิทธิของลูกจ้างที่จะยุติการสื่อสารนอกเวลางานจากนายจ้าง (Right to disconnect) ซึ่งกล่าวถึงหลักการไว้อย่างสั้น ๆ ไม่ได้ระบุแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ทำให้เกิดความหลากหลายในการนำมาใช้ปฏิบัติในองค์กรธุรกิจตามความเข้าใจของนายจ้างซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง ดังนั้นจึงควรกำหนดแนวทางในการปรับใช้สิทธิที่ลูกจ้างจะยุติการสื่อสารนอกเวลางานกับนายจ้างให้มีความชัดเจนจากการศึกษาเอกัตศึกษานี้แนวทางในการพัฒนาของกฎหมายไทยในเรื่องสิทธิของลูกจ้างที่จะยุติการสื่อสารนอกเวลางานจากนายจ้างมีดังนี้ ควรมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าสิทธิของลูกจ้างที่จะยุติการสื่อสารนอกเวลางานจากนายจ้างจะถูกบังคับใช้ในองค์กรที่มีจำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 50 ตนขึ้นไป ในข้อนี้สามารถอ้างอิงจากเกณฑ์การแบ่งขนาดธุรกิจกันโดยกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดว่าองค์กรธุรกิจขนาดกลางจะมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 200 คน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45 ซึ่งวางหลักว่าให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปสามารถจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้ เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ต้องมีการกำหนดขอบเขตของการใช้สิทธินี้ให้มีความชัดเจนมากขึ้นงโดยการนำขอบเขตในการใช้สิทธิของประเทศออสเตรเลียที่ปรับใช้ตามความสมเหตุสมผลของ เหตุผลในการติดต่อ วิธีการติดต่อที่เกิดขึ้น ลูกจ้างได้รับค่าตอบแทน เมื่อลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานได้ในช่วงเวลาที่ได้รับการติดต่อ หรือลูกจ้างสามรถทำงานนอกเวลาเพิ่มเติมจากเวลางานปกติ บทบาทกับความรับผิดชอบของลูกจ้างในองค์กร และสถานการณ์ส่วนบุคคลของพนักงาน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุล ได้สัดส่วน เป็นธรรมแก่นายจ้างอีกด้วย มีการกำหนดค่าชดเชยชัดเจนเมื่อมีการละเมิดสิทธิของลูกจ้างที่จะยุติการสื่อสารนอกเวลางานจากนายจ้าง การกำหนดค่าชดเชยก็ควรให้เป็นไปตามมาตรา 61 62 และ 63 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และเมื่อนายจ้างไม่ชดเชยค่าเสียเวลา นายจ้างจะได้บทลงโทษใโดยอ้างอิงจากมาตรา 144 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สุดท้ายให้นายจ้างยึดหลักธรรมาภิบาลองค์กรซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิของลูกจ้างโดยกำหนดให้เป็นข้อบังคับในการทำงานซึ่งมีผลบังคับใช้กับนายจ้างและลูกจ้าง ในเรื่องความโปร่งใส ที่ทำให้ลูกจ้างเข้าใจสิทธิของตนเองได้ดีขึ้น รวมถึงเรื่องความยุติธรรม ที่ การมีกระบวนการในการแก้ไขปัญหาที่เป็นธรรม และการให้โอกาสลูกจ้างได้แสดงความคิดเห็น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตันจิตติวัฒน์, บวร, "ธรรมาภิบาลองค์กรกับแนวทางในการปรับใช้ "สิทธิของลูกจ้างที่จะยุติการสื่อสารนอกเวลางานจากนายจ้าง" ของสถานประกอบการในประเทศไทย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13058.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13058