Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.151

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางการนำเครื่องมือภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะมาใช้เพื่อกันเงินจากเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลแก่หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข โดยถึงแม้ว่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ต่อผู้บริโภคให้คำนึงถึงโทษจากการบริโภคน้ำตาลตามแนวคิดรัฐผู้พิทักษ์ แต่อย่างไรก็ดี เจตนารมณ์ของภาษีชนิดนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นหากมีกลไกในการจัดสรรเงินภาษีแก่หน่วยงานที่มีภารกิจด้านสุขภาพเหมือนกับกรณีภาษีสุราและภาษียาสูบ ซึ่งในเอกัตศึกษาฉบับนี้จะหยิบยกแนวทางการจัดเก็บและการกันเงินภาษีเครื่องดื่มของประเทศฟิลิปปินส์ และเมืองเบิร์กลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มของประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมทางภาษีเพิ่มขึ้นจากการศึกษาพบว่า แนวทางการกันเงินจากภาษีเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลจะประสบผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐสามารถดำเนินการผ่านแนวคิดบันได 3 ขั้น อันประกอบด้วย (1) “การสร้างรากฐานที่มั่นคง" ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลของไทยให้มีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ (2) “การสร้างการยอมรับ" ต่อการนำเครื่องมือกันเงินภาษีเพื่อวัตถุประสงค์มาใช้ในทางปฏิบัติ และ (3) “การมุ่งสู่เป้าหมายที่แข็งแกร่ง" ด้วยการกันเงินจากภาษีเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลแก่หน่วยงานด้านสาธารณสุข โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอให้นำแนวคิดการกันเงินภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะแบบอ่อน (Soft Earmarking) มาใช้เนื่องจากสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ที่จัดเก็บและค่าใช้จ่ายตามภารกิจด้านสาธารณสุขได้อย่างชัดเจน มีความยืดหยุ่นสูงในการใช้บังคับเพราะสามารถยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งยังช่วยให้การจัดสรรงบประมาณผ่านพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ได้รับผลกระทบในระยะยาว โดยในการนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอให้กันเงินภาษีดังกล่าวไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเงินอุดหนุนแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ควรสร้างกลไกการถ่วงดุลอำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้กองทุนนำเงินที่ได้รับไปใช้จ่ายโดยขาดการควบคุม เช่น กำหนดให้กองทุนมีหน้าที่ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ผ่านการจัดทำรายงานประจำปีและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเป็นประจำทุกปี หรือกำหนดให้มีการทบทวนอัตราการนำส่งและเพดานการนำส่งเงินกันเป็นระยะ ๆ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.