Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.148

Abstract

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดปริมาณการผลิตสินค้าจำนวนมาก ก่อให้เกิดการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น กระบวนการผลิตสินค้า Remanufactured Goods หรือการนำเข้าวัสดุจากสินค้าใช้แล้วจากประเทศภาคีภายใต้ความตกลงต่าง ๆ มาผลิตเป็นสินค้าใหม่ โดยมีกระบวนการตรวจสอบการผลิตและการวัดมาตรฐานสินค้าที่เข้มงวดเพื่อให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับสินค้าใหม่จึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือโลหะพลาสติก ฯลฯดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการผลิตภายในประเทศไทยและรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว การนำเข้าวัสดุเพื่อผลิตสินค้าในรูปแบบดังกล่าวจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในกระบวนการผลิตสำหรับยุคสมัยใหม่ แต่ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่เคยมีการรับรองพันธกรณีดังกล่าวภายใต้ความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศใด อีกทั้ง กฎหมายและข้อบังคับภายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตสินค้า Remanufactured Goods ยังไม่ครอบคลุมและชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ บางข้อกฎหมายอาจไม่สอดคล้องกับพันธกรณีดังกล่าว เช่น ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 หรือ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ทำให้เกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เนื่องจาก ความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับมีการบัญญัติพันธกรณีดังกล่าวมากขึ้น เช่นเดียวกับความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย (EU-Thailand FTA) ที่กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจา ซึ่งมีการเสนอพันธกรณีเรื่อง Remanufactured Goods ระบุอยู่ด้วย ดังนั้น เพื่อรองรับพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประเทศไทยควรมีการกำหนดคำนิยามสินค้า Remanufactured Goods ให้ละเอียด ชัดเจน ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขข้อบทกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตสินค้าดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบประเทศภาคีอื่น ๆ ในภาคการผลิต ซึ่งต้องศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการผลิตสินค้าดังกล่าวอย่างละเอียดรอบคอบ และระมัดระวังให้มากที่สุด และอาจมีการพิจารณานโยบายอื่น ๆ ที่ช่วยป้องกันและควบคุมผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมภายในประเทศไทยเอาไว้ด้วย จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายภายใน กฎระเบียบ และข้อบังคับของประเทศต่าง ๆ ที่ได้มีการรับรองพันธกรณีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตสินค้า Remanufactured Goods ภายใต้ความตกลงการค้าระหว่างประเทศแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศเวียดนาม พบว่า ประเทศเหล่านี้มีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหลายฉบับที่ครอบคลุมและเพียงพอต่อการนำเข้าวัสดุจากสินค้าใช้แล้วเพื่อนำมาผลิตสินค้าดังกล่าวอย่างเหมาะสม ดังนั้น หากประเทศไทยตกลงรับพันธกรณีเรื่อง Remanufactured Goods ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี EU-Thailand FTA จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้า การติดฉลาก การรับประกันสินค้า การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตลอดจนกฎหมายควบคุมกระบวนการผลิตในด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการควบคุมหรือจำกัดการนำเข้าสินค้าใช้แล้ว โดยต้องกำหนดให้มาตรการที่ใช้บังคับสำหรับสินค้าใช้แล้วทั่วไปจะไม่สามารถใช้กับสินค้า Remanufactured Goods ได้ เพื่อป้องกันมิให้การควบคุมหรือจำกัดการนำเข้าสินค้าใช้แล้วทั่วไปมีผลใช้บังคับกับสินค้าประเภทดังกล่าว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับพันธกรณีดังกล่าว โดยอาจนำแนวทางกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้มาเป็นต้นแบบในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตสินค้าที่ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในอนาคต

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.