Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.147
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี ที่มา และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการผ่านแดนและการถ่ายลำที่เกี่ยวของกับระยะเวลาการนำของผ่านแดนหรือของถ่ายลำส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และการใช้สิทธิประโยชน์อื่นแทนการนำเข้าของการนำของผ่านแดนหรือของถ่ายลำส่งออกไปนอกราชอาณาจักรของไทย เพื่อวิเคราะห์และศึกษาสภาพปัญหาของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาการนำของผ่านแดนหรือของถ่ายลำส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและการใช้สิทธิประโยชน์อื่นแทนการนำเข้าของผ่านแดนหรือของถ่ายลำ และหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลานำของผ่านแดนหรือถ่ายลำออกไปนอกราชอาณาจักรให้มีความสอดคล้องและมีมาตรฐานเป็นหนึ่งเดียวกันในการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศรวมทั้งสามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้ จากการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลา และการใช้สิทธิประโยชน์อื่นแทนการนำเข้าของการนำของผ่านแดนหรือของถ่ายลำส่งออกไปนอกราชอาณาจักรของไทย ไม่สามารถขอขยายระเวลาของการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรได้ และต้องเปลี่ยนพิธีการศุลกากรจากการผ่านแดนหรือถ่ายลำเป็นการนำเข้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์อื่นแทนการนำเข้าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ มีระยะเวลาการนำของผ่านแดนหรือของถ่ายลำส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเหมือนกันกับไทยคือ 30 วันนับแต่วันนำเข้า แต่ทุกประเทศจะมีข้อยกเว้นในการขอขยายระยะเวลาในการส่งสินค้าผ่านแดนหรือถ่ายลำให้กับผู้ประกอบการที่มีเหตุผลและความจำเป็นตามที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้การใช้สิทธิประโยชน์อื่นแทนการนำเข้า ประเทศดังกล่าวได้กำหนดให้สินค้าผ่านแดนหรือถ่ายลำสามารถจัดเก็บในเขตปลอดอากร (Freezone) ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับผู้ประกอบการหากเกิดปัญหาในการส่งสินค้าผ่านแดนหรือถ่ายลำออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้ศึกษาได้ข้อเสนอแนวทางการนำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลา และการใช้สิทธิประโยชน์อื่นแทนการนำเข้าของการนำของผ่านแดนหรือของถ่ายลำส่งออกไปนอกราชอาณาจักรของต่างประเทศมาใช้ประกอบในการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนหรือถ่ายลำของประเทศไทย ได้แก่ (1) การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การผ่านแดนและถ่ายลำของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการขยายระยะเวลา และ (2) การใช้เขตปลอดอากร (Free Zone) เป็นสถานที่จัดเก็บสินค้าผ่านแดนหรือถ่ายลำ เพื่อให้มีความสอดคล้องและมีมาตรฐานเป็นหนึ่งเดียวกันในการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ สนับสนุนให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุขแว่น, ธวัชชัย, "ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560ศึกษากรณีระยะเวลา และการใช้สิทธิประโยชน์อื่นแทนการนำเข้าของการนำของผ่านแดนหรือของถ่ายลำส่งออกไปนอกราชอาณาจักร" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13053.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13053