Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.146
Abstract
เอกัตศึกษา เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคศึกษากรณีการใช้คำสั่งบอทในการซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตผ่านระบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บอท (bot) ซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตผ่านระบบออนไลน์ โดยศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อให้คุ้มครองบริโภคได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจำหน่ายบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตผ่านระบบออนไลน์มีประสิทธิภาพในอนาคตจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนสำหรับการห้ามใช้บอท (bot) ซื้อบัตรคอนเสิร์ตจำนวนมากเพื่อขายต่อในราคาสูงกว่าปกติ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมปัญหาและไม่มีอำนาจลงโทษผู้ที่นำบัตรมาจำหน่ายในราคาสูงกว่าปกติได้ จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศพบว่า สหรัฐอเมริกา เช่น รัฐนิวยอร์ก และรัฐแอริโซนานั้นมีกฎหมายการควบคุมการใช้บอท (bot) เป็นเครื่องมือในการซื้อบัตรชมการแสดงต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย เช่น ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงบัตรชมการแสดง ปัญหาการนำบัตรชมการแสดงมาขายในราคาที่สูงกว่าปกติ เห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาได้มีความพยายามที่จะคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม เช่นมีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือการออกกฎหมายเพื่อเข้ามาควบคุมและลงโทษการกระทำที่ใช้บอทในการซื้อบัตรบัตรที่เกินกว่าที่กำหนด นอกจากนี้สาธารณรัฐเกาหลีได้แก้ไขกฎหมายกรณีผู้กระทำความผิดที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตเพื่อจำหน่ายต่อ โดยกำหนดโทษจำคุกและโทษปรับด้วย และมีมาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดอีก เช่น การให้บัตรเข้าชมฟรีแก่แฟนคลับที่รายงานผู้ขายบัตรเกินราคา รวมถึงนำวิธีการต่าง ๆ มาใช้ เช่น โปรแกรมป้องกันมาโคร และการเฝ้าระวังการขายบัตร เป็นต้นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำหรับภาครัฐ ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรายงานการกระทำที่เป็นความผิดผ่านระบบออนไลน์ นอกจากนี้ภาคธุรกิจ(ผู้ประกอบการ) ควรพัฒนาปรับปรุงระบบแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย และส่งเสริมกิจกรรมให้บัตรเข้าชมคอนเสิร์ตให้ฟรีแก่แฟนคลับที่รายงานผู้ที่ใช้บอทในการซื้อบัตรและหรือนำบัตรไปเก็งกำไรขายต่อเกินราคาที่กำหนดไว้ ในส่วนของภาคประชาชน (ผู้บริโภค) ควรสร้างความตระหนักรู้ไม่สนับสนุนการใช้บอทในการซื้อบัตร สำหรับข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ควรบัญญัติกฎหมายการใช้คำสั่งบอทในการซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตผ่านระบบออนไลน์เป็นการเฉพาะ โดยกำหนดคำนิยาม “บอทที่ใช้ในการซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ต" ควรกำหนดลักษณะความผิด และบทลงโทษกรณีการใช้คำสั่งบอทในการซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตผ่านระบบออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค และทำลายโครงสร้างอุตสาหกรรมคอนเสิร์ต
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พุทธวรคุณ, ธรรศปริชณ์, "มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคศึกษากรณีการใช้คำสั่งบอทในการซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตผ่านระบบออนไลน์" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13052.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13052