Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.145
Abstract
ปัจจุบันแนวโน้มของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาหารเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้หน่วยงานด้านอาหารในหลายประเทศให้ความสำคัญกับมาตรการในการป้องกันโดยเฉพาะการแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อแจ้งให้แก่ผู้บริโภค โดยองค์กรมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius) ได้กำหนดมาตรฐานกลางขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกันในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกำหนดให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายจะต้องแสดงข้อความ “ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร" บนฉลากผลิตภัณฑ์ หากมีการใช้เป็นส่วนประกอบหรืออาจมีการปนเปื้อนในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม กฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ กฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังไม่มีข้อบังคับให้ต้องแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคที่มีภาวะภูมิแพ้หรือภาวะภูมิไวเกินอาจไม่ได้รับข้อมูลที่สำคัญอย่างเพียงพอในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยปัญหาดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ด้านหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างในการกำหนดข้อปฏิบัติที่มุ่งเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคในมิติที่แตกต่างกัน และ 2) ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมิได้นำหลักของกฎหมายทั่วไปมาบังคับใช้อย่างครอบคลุมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าในประเทศอื่น เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา จะมีมาตรการกำหนดให้ต้องปิดฉลากสารก่อภูมิแพ้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่นเดียวกับอาหารทั่วไปดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีแนวทางการควบคุมการปิดฉลากสารก่อภูมิแพ้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการผ่านกลไกทางกฎหมาย 2 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางการควบคุมผ่านกฎหมายเฉพาะ โดยเพิ่มข้อกำหนดให้ต้องแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 2) แนวทางการควบคุมผ่านกฎหมายทั่วไป โดยบังคับใช้กฎหมายทั่วไปให้เคร่งครัดมากขึ้น นอกจากนี้ ควรจัดทำแนวทางการปฏิบัติ (Guideline) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้เข้าถึงข้อมูลและปฏิบัติตามกฎหมายได้สะดวกยิ่งขึ้นหากประเทศไทยดำเนินมาตรการตามแนวทางดังกล่าวแล้ว นอกจากจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและข้อมูลที่จำเป็นอย่างครบถ้วนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสมกับตนเอง ยังช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ และเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวได้อีกด้วย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รองทิม, ธนภรณ์, "การควบคุมการปิดฉลากสารก่อภูมิแพ้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13051.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13051