Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

ปารีณา ศรีวนิชย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.143

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่ในการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ซึ่งเป็นมาตรฐานของ FATF ที่ประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวและจากการประเมินตามมาตรฐานของ FATF โดย APG ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกนั้นแนะนำให้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดหน้าที่ดังกล่าวให้กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยขึ้นมาและได้มีการให้ทางสภาวิชาชีพบัญชีให้ความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวว่าการกำหนดหน้าที่ให้เป็นผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีนั้นยังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระที่เกินขอบเขต การไม่มีแนวทางในการพิจารณาลักษณะธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย การขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาชีพในเรื่องการรักษาความลับของลูกค้า และการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติมาตรา 89/25 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทำให้การกำหนดหน้าที่ดังกล่าวยังไม่สามารถบังคับใช้ในประเทศไทย จากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวทำให้มีการศึกษาแนวทางจาก FATF รวมทั้งแนวทางในต่างประเทศ โดยเอกัตศึกษาฉบับนี้ได้ศึกษาแนวทางจากประเทศนิวซีแลนด์และประเทศสิงคโปร์ที่มีการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องนี้แล้ว และทั้งสองประเทศดังกล่าวเป็นสมาชิกทั้ง FATF และ APG จึงมีแนวทางที่เป็นตามมาตรฐานสากลที่สามารถนำมาศึกษาเพื่อปรับใช้กับการกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากผลการศึกษาจากแนวทางในต่างประเทศพบว่า หน่วยงานกำกับดูแลได้มีการจัดทำแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายการฟอกเงินสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี จึงเสนอให้ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินควรมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติในการทำหน้าที่เป็นผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยและหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยมีการกำหนดลักษณะธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยเพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นแนวทางในการพิจารณาลักษณะธุรกรรมที่ต้องมีการรายงานกับทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นอกจากนี้เสนอให้มีมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยลดอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อแบ่งปันข้อมูลในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงของลูกค้า การจัดอบรมให้กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยมีการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบธุรกรรมต้องสงสัย โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวสามารถเป็นแนวทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินใช้ในการปรับปรุงการกำหนดหน้าให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่ในการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่เหมาะสมกับประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.