Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

สิริกัญญา โฆวิไลกูล

Second Advisor

ปะราลี เตชะจงจินตนา

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.142

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นของบริษัทจากการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ตลอดจนวิเคราะห์ความเหมาะสมของมาตรการทางกฎหมาย ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นในการเข้าฟื้นฟูกิจการของบริษัทภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 รวมถึงปัญหาและข้อจำกัดของมาตรการดังกล่าว โดยศึกษาเทียบเคียงกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศสิงคโปร์ เพื่อแสวงหาแนวทางในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นภายหลังการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในประเทศไทยที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายการจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ ใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าและรวมรวมข้อมูลผ่านการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีตและปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และนำเสนอแนวทางในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเจ้าหนี้จากการศึกษาพบว่า กระบวนการฟื้นฟูกิจการของประเทศไทยมีความไม่เท่าเทียมกันในผลกระทบที่มีต่อเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นซึ่งเกิดจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยในกรณีที่บริษัทยังไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้อย่างครบถ้วน เจ้าหนี้ต้องยอมรับความเสียหายจากการปรับโครงสร้างหนี้ในกระบวนการเพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่ผู้ถือหุ้นกลับไม่ได้รับผลกระทบนอกเหนือไปจากการถูกระงับสิทธิชั่วคราวในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ทั้งยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานของกิจการลูกหนี้ในอนาคต ซึ่งเห็นได้ว่าผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทในกระบวนการฟื้นฟูกิจการได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นที่มาของเอกัตศึกษาฉบับนี้ ในการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิในการดำรงสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมภายหลังการฟื้นฟูกิจการ โดยในต่างประเทศมีการกำหนดเกี่ยวกับลำดับการชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งกำหนดสิทธิในการได้รับชำระหนี้และประโยชน์อื่น ๆ ของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น เพื่อให้ความคุ้มครอง และให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียอื่นของกิจการดังนั้น กฎหมายฟื้นฟูกิจการของประเทศไทยจึงควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับลำดับการชำระหนี้ ซึ่งกำหนดสิทธิของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นในการได้รับชำระหนี้หรือประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิในการดำรงสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นภายหลังการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการฟื้นฟูกิจการของประเทศไทยให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.