Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

สิริกัญญา โฆวิไลกูล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.141

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมีมาตรการ หรือแนวคิดริเริ่มเพื่อส่งเสริมธุรกิจอาหารทางเลือกจากพืชในประเทศไทยให้เติบโตมากขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ในระยะยาวให้กับเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน ประโยชน์ของธุรกิจดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (1) ประโยชน์ด้านสุขภาพ สามารถช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ (2) ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารทางเลือกจากพืชใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ที่ดิน แหล่งน้ำ และพลังงาน น้อยกว่าอาหารที่มีส่วนผสมจากเนื้อสัตว์ จึงถือเป็นการประหยัดพลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี (3) ประโยชน์ด้านความมั่นคงทางอาหาร สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหาร เนื่องจากกระบวนการผลิตอาหารทางเลือกจากพืชใช้ทรัพยากรด้านต่าง ๆ น้อยกว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และ (4) ประโยชน์ด้านสวัสดิภาพสัตว์ การรับประทานอาหารทางเลือกจากพืชถือเป็นการคุ้มครองสัตว์ เพราะเป็นการลดการผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ในฟาร์มเอกัตศึกษาฉบับนี้ มีการดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล จากหนังสือ บทความ ตำรา วิทยานิพนธ์ เอกัตศึกษา เอกสารสิ่งพิมพ์ หลักภาษีอากร โดยมีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ที่มีบุคคลอื่นได้บันทึกหรือตีพิมพ์เผยแพร่ไว้เกี่ยวกับมาตรการเพื่อส่งเสริมธุรกิจอาหารทางเลือกจากพืช ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการศึกษา เรียบเรียง และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อเสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบธุรกิจอาหารทางเลือกจากพืชจากการศึกษา พบว่า ในปัจจุบัน ไทยยังขาดมาตรการส่งเสริมธุรกิจอาหารทางเลือกจากพืชที่ชัดเจนและครอบคลุม เมื่อเทียบกับหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสิงคโปร์ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมธุรกิจอาหารทางเลือกจากพืชในไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควรมีการดำเนินการดังนี้ (1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ และกฎหมายเฉพาะเพื่อส่งเสริมอาหารทางเลือกจากพืช: กำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน (2) บูรณาการนโยบาย เชื่อมโยงนโยบายด้านอาหารกับนโยบายอื่น ๆ เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ รวมถึงการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (3) ส่งเสริมด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมธุรกิจอาหารทางเลือกจากพืช ทั้งในส่วนที่ส่งผลกับอาหารทางเลือกจากพืชโดยตรง เช่น การพิจารณาปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอาหารทางเลือกจากพืช และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทางอ้อม เช่น การหักค่าใช้จ่ายที่ใช้สำหรับการวิจัย (4) สร้างความตระหนักรู้ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารจากพืช ทั้งต่อผู้บริโภคเอง และต่อสังคมในภาพรวม (5) สนับสนุนเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารจากพืชการดำเนินการเหล่านี้จะช่วยให้ไทยมีอุตสาหกรรมอาหารทางเลือกจากพืชที่แข็งแกร่ง สามารถแข่งขันในตลาดโลก และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.