Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.140
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายสิทธิคนพิการในการใช้สายการบินต้นทุนต่ำ Low cost Airlines ในประเทศไทย ศึกษาแนวคิดหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพในการคุ้มครองคนพิการ และแนวความคิดการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทั้งกฎหมายไทย กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ตลอดจนศึกษาแนวทาง ข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติแบบไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศไทยให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามทฤษฎี หลักกฎหมาย หลักปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการได้จริงในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่ากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำมีหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิ ของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทย ในเส้นทางการบินประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553 กฎกระทรวง กำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7 ว่าด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับคนโดยสารและสมาชิกลูกเรือในสนามบินที่ให้บริการ สาธารณะ และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ล้วนแต่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพหรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศและมีปัญหาการบังคับใช้ด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงไม่มีบทบัญญัติที่มีการกำหนดค่าชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายและบทลงโทษเพื่อคุ้มครอง รับรองสิทธิและเสรีภาพในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้สายการบินส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไทยและเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการดังนั้น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะทุกด้านอย่างเสมอภาคกับเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิจากสายการบินและกำหนดข้อห้ามมิให้สายการบินปฏิเสธการขนส่งผู้โดยสารพิการ และกำหนดให้สายการบินห้ามกล่าวอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยหรือการรักษาความปลอดภัย หรือกล่าวอ้างตามที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนซึ่งมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิและเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งสามารถเดินทางได้แต่โดยลำพังหรือมีผู้ดูแลคนพิการร่วมเดินทางไปด้วย จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บัวงามดี, ฐิติญาภรณ์, "สิทธิคนพิการในการขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยโดยการใช้สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airlines)" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13046.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13046