Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.136
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ในประเทศไทย เนื่องจาก ในประเทศไทยบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่บุหรี่ไฟฟ้ามีการเข้าถึงและเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชน และคนทั่วไป โดยมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นและในอนาคตมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเข้ามาแทนที่บุหรี่มวนแบบจุดสูบ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากวิวัฒนาการที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็น “สินค้าต้องห้าม" ในการนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557 แต่ก็มิได้ทำให้ความนิยมในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าลดลงแต่อย่างใด ในทางกลับกัน บุหรี่ไฟฟ้ากลับมามีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศไทยได้มีการควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาหลายปีแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ประจักษ์ว่าจะควบคุมได้สำเร็จ ดังนั้น การพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการในการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการให้ถูกต้อง ศึกษารายละเอียดในด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ครบถ้วน สมบูรณ์ในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำจะช่วยเป็นกลไกที่จะใช้ควบคุม โดยให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้กำกับดูแลภายใต้การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม จากการศึกษาเอกัตศึกษาฉบับนี้ ทำให้ทราบว่า ประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน และไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประเทศไทยจึงควรมีกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า ประเทศไทยควรมีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนและข้อกฎหมายที่ปัจจุบันมีการบังคับอยู่หลายฉบับ โดยเห็นควรจัดให้กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ เพื่อกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมายแบบเบ็ดเสร็จ โดยรวมหลักการและมาตรการควบคุมทุกมิติไว้ในกฎหมายฉบับดังกล่าว อาทิ การห้ามการผลิต การนำเข้า การจำหน่าย การโฆษณา การสื่อสารการตลาด การโฆษณาชวนเชื่อ การครอบครอง การสูบ เป็นต้น เพื่อยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนปิดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงศ์สุวรรณ, ชนัฏฐา, "มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13042.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13042