Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
พัชร์ นิยมศิลป
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.134
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการตีความรายได้ของ YouTubers เนื่องจากรายได้บริการที่เข้าเงื่อนไขการเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำนิยามของประมวลรัษฎากรมีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่ารายได้ของ YouTubers เป็นรายได้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำนิยามของประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะรายได้ของ Youtubers มีรูปแบบที่หลากหลายและกรมสรรพากรยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้เหล่านี้ จากการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้ของ YouTubers ในประเทศอินเดีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ พบว่าแต่ละประเทศได้ออกมาตรการทางกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจน กำหนดให้รายได้ของ YouTubers เป็นรายได้ที่เข้าเงื่อนไขและต้องเสียภาษีสินค้าและบริการ (GST) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ YouTubers ผู้มีรายได้สามารถทำความเข้าใจและปฏิบัติตามได้ นอกจากนี้ หน่วยงานสรรพากรของแต่ละประเทศยังสามารถปฏิบัติตามและจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้เขียนเสนอให้กรมสรรพากร ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและสร้างความชัดเจนในทางปฏิบัติสำหรับทั้งเจ้าหน้าที่และผู้เสียภาษี โดยแนะนำให้ใช้แนวทางปฏิบัติจากประเทศแคนาดาและนิวซีแลนด์เป็นต้นแบบในการดำเนินการในระยะสั้น โดยกรมสรรพากรควรออกคำสั่งกรมสรรพากร (คำสั่ง ป.) เพื่อกำหนดให้ YouTubers เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบรายได้และเกณฑ์ในการเสียภาษีให้ครอบคลุมรูปแบบรายได้ที่หลากหลายของ YouTubers ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีรายได้และเจ้าหน้าที่สรรพากรสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ และเพื่อสร้างความชัดเจนและความครอบคลุมทางกฎหมายในระยะยาว กรมสรรพากรควรมีการปรับปรุง คำนิยาม ‘บริการทางอิเล็กทรอนิกส์’ ในมาตรา 77/1 (10/1) ประมวลรัษฎากร โดยใช้แนวปฏิบัติจากประเทศอินเดียเป็นกรอบอ้างอิง โดยเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการของ YouTubers ถูกระบุเป็นหนึ่งในรูปแบบของบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความชัดเจน สอดคล้องกับรูปแบบรายได้ที่เปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล และลดข้อขัดแย้งในการตีความที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จิณณธนพงษ์, จิรวรรณ, "ปัญหาการตีความรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีศึกษารายได้ YouTubers" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13040.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13040