Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการใช้ระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ต่อภาวะซึมเศร้าและความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A Study of using a primary nursing system on depression and satisfaction with nursing service of suicidal attempters, makaruk hospital, Kanchanaburi Province

Year (A.D.)

2004

Document Type

Independent Study

First Advisor

เพ็ญพักตร์ อุทิศ

Faculty/College

Faculty of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

DOI

10.58837/CHULA.IS.2004.4

Abstract

The purpose of this independent study project was to compare depression of suicidal attempters and patient’s satisfaction with nursing service before and after using a primary nursing system. The sample of 20 suicidal attempters who met the inclusion criteria were recruited from the general medical and surgical wards, Makaruk Hospital, Kanchanabuir Province. The instrument used in this study was a primary nursing handbook which was validated by a panel of experts. Data were collected using the Beck Depression Inventory and the Satisfaction with Nursing Services Questionnaire. The Cronbach’s Alpha coefficient reliability for the questionnaires were 0.91 and 0.94, respectively. The study data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and paired t-tests. Major findings were as follows. 1. The mean depression scores of suicidal attempters after using a primary nursing system were significantly lower than before using a primary nursing system at the p = .05 level (t = 13.752). 2. Patients’ satisfaction in nursing service after using a primary nursing system was significantly higher than before using a primary nursing system, at the p = .05 level (t = 6.520).

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของผู้พยายามฆ่าตัวตายก่อนและหลังการใช้ระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้พยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 20 คน ได้จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จากผู้พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งมารับบริการที่หน่วยงานอายุรกรรมสามัญและศัลยกรรมสามัญ โรงพยาบาลมะการักษ์ โดยผู้พยายามฆ่าตัวตายที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการดูแลในระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย คู่มือสำหรับพยาบาลในระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ ซึ่งผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง ที่พัฒนามาจาก Beck Depression Self Rating Questionaire และแบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์ของแอลฟา ตามวิธีของคอนบราค เท่ากับ 0.91 และ 0.94 ตามลำดับ การศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าและความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้พยายามฆ่าตัวตาย โดยใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าและความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้พยายามฆ่าตัวตายก่อนและหลังการดำเนินการโครงการโดยใช้สถิติทดสอบที่ (Dependent t-test) โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนของภาวะซึมเศร้าโดยรวมหลังการใช้ระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ต่ำกว่าก่อนการใช้ระบบการพยาบาลเจ้าของไข้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้พยายามฆ่าตัวตายหลังการใช้ระบบการพยาบาลเจ้าของไข้สูงกว่าก่อนการใช้ระบบการพยาบาลเจ้าของไข้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Share

COinS