Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of using discharge planning program on psychological self-care behaviors of suicide attempters, Pamok Hospital, Angthong Province
Year (A.D.)
2004
Document Type
Independent Study
First Advisor
เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Faculty/College
Faculty of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
DOI
10.58837/CHULA.IS.2004.6
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้พยายามฆ่าตัวตาย ก่อนและหลังได้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้พยาบาลฆ่าตัวตายซึ่งได้รับการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติจากผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลป่าโปก จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ซึ่งผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นโดยผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้การรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตสร้างโดย จินตนา ยูนิพันธุ์ (2534ข) มีค่าความเชื่อมั่นครอนบาคอัลฟาเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (Paired t-tests) สรุปผลการศึกษา พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้พยายามฆ่าตัวตาย หลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย สูงกว่าก่อนได้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=11.16)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this independent study project was to compare the psychological self-care behavior scores of suicide attempters before and after their participation in a discharge planning program. The sample were twenty suicide attempters who were purposively selected according to the inclusion criteria from the inpatient unit, Pamok hospital. The study instrument was the discharge planning program which was developed by the researcher and validated by four experts. Data were collected using the Psychological Self-Care Behaviors Measurement developed by Jintana Yunibhand (B.E 2534B). Chronbach’s alpha reliability coefficient for the instrument was .93. Paired t-test were used for data analysis. Major findings were as follows: 1.The psychological self-care behaviors of suicidal attempters after using the discharge planning program was significantly higher than before using the program. (t=11.16, p=.05)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จิรังกร, นวพร, "การศึกษาการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง" (2004). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13028.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13028